การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วนและการประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • นัฐฐนิภา ประทุมชาติ
  • มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์

Keywords:

การทำงานกลุ่มในการศึกษา., คณิตศาสตร์, กิจกรรมการเรียนการสอน, ประถมศึกษา, การศึกษาและการสอน.

Abstract

          การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและการประยุกต์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีกิตติวรรณนุสรณ์ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 63 คน จาก 2 ห้องเรียน โดยใช้การสุ่มแบบ Two-stage sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.96 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเป็น 0.986 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.78 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.87 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเป็น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานใช้้ Hotelling’s-T2 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วนและการประยุกต์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purposes of this research were to compare learning achievements and analytical thinking ability between students learning with the cooperative learning STAD technique and the KWDL technique and the regular learning classroom. The participants were students of Prathomsuksa Five in Tedsaban 1 Srikittiwannuson School, Phanatnikhom, Chonburi, enrolled in the second semester of 2016, selected from two classrooms by using two - stage sampling technique. There were Four types of the instrument used in the study. They were the mathematics learning activitie using the cooperative learning STAD technique and the KWDL technique; the regular learning management; the achievement test on learning were 30 four-alternative items, the ranging of difficulty value was 0.25 – 0.75, the discrimination of each item was 0.32 – 0.96 and the reliability of all the items was 0.986, and the analytical thinking ability test on learning were 30 four-alternative items, the ranging of difficulty value was 0.25 – 0.78, the discrimination of each item was 0.22 – 0.87 and the reliability of all the items was 0.98. The statistic used for analyzing the collected data were mean, standard deviation, and percentage; Hotelling’s-T2 were employed for testing hypotheses. The results of the study were as follows: the students learned using the lesson plans of the cooperative learning STAD technique and the KWDL technique showed gains achievement and analytical thinking ability than those learned using the regular learning management at the .05 level of significance.

Downloads