การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมจิตสาธารณะของนิสิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Authors

  • ภัทรภร สีทองดี
  • ธร สุนทรายุทธ
  • สมุทร ชำนาญ

Keywords:

การสร้างเสริมจิตสาธารณะ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมจิตสาธารณะของนิสิตในสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐและเพื่อประเมินรูปแบบการสร้างเสริมจิตสาธารณะของนิสิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒซึ่งเป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 1,141 คน เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นผู้ใช้รูปแบบ 10 คน ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นอาจารย์ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 8 คน และประเมินจากผู้ประเมิน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและมีความเชื่อมั่น .96 แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสร้างเสริมจิตสาธารณะของนิสิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐใน 11 ด้าน คือ 1) ด้านการมีส่วนร่วม 2) ด้านการติดต่อสื่อสาร 3) ด้านการวิเคราะห์ วิพากษ์และวิจารณ์ 4) ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง 5) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 6) ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา 7) ด้านความรักความสามัคคี 8) ด้านค่านิยม 9) ด้านจริยธรรม 10) ด้านมุ่งอนาคตควรพัฒนาโดยการฝึกงาน 11) ด้านเอกลักษณ์แห่งตน มีการพัฒนาด้วย 8 แนวทาง ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การฝึกพูด การโต้วาที การอาสาสมัคร การฝึกงาน การปลูกฝัง การอบรม และการยกย่อง 2. ผู้ประเมินส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องต้องกันในระดับมากที่สุดมี 6 แนวทาง ได้แก่ การทำงานเป็นทีมการอาสาสมัคร การฝึกงาน การปลูกฝัง การอบรม และการยกย่อง ส่วนการโต้วาที และการฝึกพูดมีความเห็นพ้องต้องกันในระดับมาก          The purposes of this dissertation were to develop a model for enhancing public consciousness and to assess the model for enhancing public consciousness of students in higher public university: a case of Srinakharinwirot University. It was a mix method research, quantitative – qualitative research method, through documentary analysis, questionnaire in-depth interview and focus group discussion. The sample and informants included 1,141 students, 10 Srinakharinwirot University students, 8 experts of lectures and administrations and 10 experienced scholars related. The instruments used for collecting the data were the questionnaire with the reliability of .96, in-depth interview form, and model assessment form.            The research findings were as follows: 1. the model developed to enhance consciousness of students in state higher education institutions consisted of 8 guidelines, namely Teamwork, speech training, debating, volunteering, on the job training, implanting, training and admiring. 2.The model assessed by assessors to enhance consciousness of students in higher public university with the consensus at the highest level included six guidelines: Teamwork, volunteering, on the job training, implanting, training and admiring, while speech training and debating were at the high level of consensus.

Downloads