การพัฒนาระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคมรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Authors

  • รชต เดชาธรวรพล
  • วาสนา ทวีกุลทรัพย์
  • ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์
  • ธนิต ภู่ศิริ

Keywords:

ระบบ, การสอนแบบอิงประสบการณ์, สื่อสังคม, รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มัธยมศึกษาตอนต้น

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ประเมินผลการใช้ระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่หนึ่ง การพัฒนาระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม มี 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ศึกษาให้ได้องค์ความรู้จากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 ศึกษาความต้องการเกี่ยวกับระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม ขั้นที่ 3 ร่างกรอบแนวคิดระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม ขั้นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับร่างกรอบแนวคิดของระบบ ขั้นที่ 5 ร่างระบบตามกรอบแนวคิดที่ผ่านความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ขั้นที่ 6 ประเมินคุณภาพของร่างระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม และขั้นที่ 7 ปรับปรุงจนได้ระบบที่สมบูรณ์นำมาทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 340 คน จำแนกเป็น ครูจำนวน 167 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 173 คน ในปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกรอบแนวคิดของระบบ จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพของร่างระบบ จำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคมแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินคุณภาพร่างระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม ระยะที่สอง การประเมินผลการใช้ระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม ประกอบด้วย (1) การทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้น และ (2) การจัดประชุมสัมมนาครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาเกี่ยวกับระบบการสอน แบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน ที่เรียนในปีการศึกษา 2559 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และครูผู้สอนจำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัย คือ ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคมที่พัฒนาตามขั้นตอนของระบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของครู การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า (1) ระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า คือ ปรัชญา วิสัยทัศน์ นโยบาย จุดมุ่งหมาย หลักสูตร และโครงสร้างพื้นฐาน องค์ประกอบด้านกระบวนการ คือ การสอนแบบอิงประสบการณ์ ศูนย์ความรู้ ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ ช่องทางการใช้สื่อสังคม และสื่อสังคม และองค์ประกอบด้านผลลัพธ์ คือ การประเมินการสอนแบบอิงประสบการณ์ และการติดตามผลการสอนแบบอิงประสบการณ์ ส่วนขั้นตอนของระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม ประกอบด้วย 9 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 กำหนดอุดมการณ์ ขั้นที่ 2 พัฒนาหลักสูตรแบบอิงประสบการณ์ ขั้นที่ 3 จัดทำแผนเผชิญประสบการณ์ ขั้นที่ 4 จัดทำศูนย์ความรู้ ขั้นที่ 5 ผลิตสื่อสังคม ขั้นที่ 6 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขั้นที่ 7 ผลิตชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ ขั้นที่ 8 เผชิญประสบการณ์ และขั้นที่ 9 ประเมินและติดตามผลของการเผชิญประสบการณ์ ระบบนี้ได้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิมีคุณภาพอยู่ในระดับดี และ (2) การประเมินผลการใช้ระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคม โดยการทดลองใช้ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนของระบบมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 คือ E1/E2 = 79.80/79.13 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคมหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนครูมีความคิดเห็นต่อระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ผ่านสื่อสังคมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด          The objectives of this research were (1) to develop a Social Media Experience-Based Instructional System in Information Technology Course (SMEBA-IT) for the Lower Secondary Students in Bangkok Metropolis and Surrounding Area; (2) to evaluate the try-out results of the developed SMEBA-IT. The research process comprised two stages. The first stage was the development of the SMEBA-IT which consisted of the following steps: the first step was the study of documents, texts, and related research studies; the second step was the study of the needs for SMEBA-IT; the third step was the development of conceptual framework of the SMEBA-IT; the fourth step was the interviews of experts concerning the conceptual framework of the system; the fifth step was the system development based on conceptual framework as certified by the experts; the sixth step was quality evaluation of the drafted version of the SMEBA-IT; and the seventh step was the improvement of the first drafted system to system to obtain the complete version system for tryout. The research sample consisted of 340 teachers and students in secondary schools in Bangkok Metropolis and surrounding area, classified into 167 teachers and 173 secondary students in the 2017 academic year, all of which were obtained by multi-stage random sampling; seven experts for verification of conceptual framework of the system; and five specialists to evaluate quality of the drafted version of the system. The employed research instruments were questionnaires on the needs for the SMEBA-IT of teachers and students, an interview structure for the experts, a system quality evaluation form for the specialists, and the developed SMEBA-IT. The second stage was the evaluation of the try-out results of the developed SMEBA-IT. It consisted of the following two activities: (1) the preliminary try-outs to determine efficiency of the system, which comprised the individual try-out, small group try-out, and field try-out; and (2) organizing a focus group seminar involving secondary school information technology teachers concerning the developed SMEBA-IT. The research sample consisted of 40 Mathayomsuksa II students studying in the academic year 2016, Rattanathibet school and 20 information technology teachers at the secondary level. The employed research instruments in the second stage were the developed SMEBA-IT, a learning achievement test, a questionnaire on student’s satisfaction, and a questionnaire on teacher’s opinions. Research data was analyzed using the frequency, percentage, E1/E2 efficiency index, t-test, mean, standard deviation, and content analysis. Research findings were as follows: 1) the developed SMEBA-IT was composed of the input components consisting of philosophy, vision, policy, objectives, curriculum and infrastructure; the process components consisting of Experience-Based Instructional, knowledge center, learning package, social media channel and social media; and the output components consisting of the evaluation and the following-up of the Experience-Based Instructional; meanwhile, the SMEBA-IT comprised nine steps: the first step, the defining of ideology; the second step, the developing of experience-based curriculum; the third step, the developing of experience facing approaches; the fourth step, the developing of knowledge center; the fifth step, the producing of social media Experience-Based Instructional; the sixth step, the developing of the infrastructure; the seventh step, they producing of learning package; the eight step, the facing of the experience with social media; and the ninth step, the evaluating and following-up of facing the experience. Then, this developed system was verified by the specialists as having ‘high’ quality; and 2) regarding the evaluation of try-out results of the developed SMEBA-IT, it was found that the developed SMEBA-IT was efficient at 79.80/79.13, thus meeting the 80/80 efficiency criterion; the learning achievement of students who learned from the SMEBA-IT increased significantly at the .01 level of statistical significance; and the students were satisfied with SMEBA-IT at the ‘highest’ level; also the teachers’ opinions toward the system were at the ‘strongly agree’ level.

Downloads