ผลการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์แนวคิดแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ที่มีต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Keywords:
การสอน, โครงสร้างไวยากรณ์, การเขียนภาษาอังกฤษ, ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ, เจตคติต่อการเขียนภาษาอังกฤษAbstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษความสามารถในการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และเจตคติต่อการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนโดยประยุกต์แนวคิดแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์กับกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนเขียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง จำนวน 2 ห้องเรียน 62 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 32 คนและกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์แนวคิดแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ (Form-Focused instruction) แผนการจัดการเรียนการสอนเขียนแบบปกติ แบบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ แบบวัดความสามารถในการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและแบบวัดเจตคติต่อการเขียนภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนโดยประยุกต์แนวคิดแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์มีความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ ความสามารถในการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนเขียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of the research were to compare English writing ability, English grammar ability, and attitude toward English writing instruction between Prathomsuksa Six students, taught by Form-Focused Instruction activities and those taught by the traditional English writing method. The participants were sixty-two Prathom Suksa Six students in the first semester of the Academic Year 2016 from a Primary School. They were selected by the multi-stage sampling technique into two groups, for an experimental group (n=32) and a control group (n=30). The instructional instruments consisted of Form-Focused Instruction activities lesson plan, traditional English writing method lesson plans, English writing ability test, English grammar ability test, and an attitude toward English writing instruction questionnaire. The data were analyzed by using an independent t-test. The results revealed that English writing ability, English grammar ability and attitude toward English writing instruction of Prathomsuksa Six students after learning with Form-Focused Instruction activities were higher than traditional English writing method at the significant .05 level.Downloads
Issue
Section
Articles