การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการแสวงหาความรู้ ของนักศึกษากฎหมาย ระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว

Authors

  • ดวงมาลา คำสงกา
  • สมชาย วรกิจเกษมสกุล
  • สมยศ ชิดมงคล
  • ชาติชาย ม่วงปฐม

Keywords:

การเรียนรู้แบบสืบสอบ, เมตาคอกนิชัน, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การแสวงหาความรู้

Abstract

        การวิจัยในครั้งนี้ ได้ศึกษาแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชันมาพัฒนายุทธศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิด การเรียนรู้แบบสืบสอบและแนวคิดเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการแสวงหาความรู้ 2) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนายุทธศาสตร์ 3) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษากฎหมายปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ปีการศึกษา 2559 สุ่มแบบกลุ่มโดยดำเนินการทดลอง 10 สัปดาห์ๆ ละ 2 วันๆ ละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือวิจัยดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ฯ 2) แบบทดสอบฯ 3) แบบประเมินฯ โดยใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pretest - Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา       ผลการวิจัย พบว่า       1. ยุทธศาสตร์ฯที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) ชื่อยุทธศาสตร์ 2) ความเป็นมาและความสำคัญ 3) ลักษณะสำคัญ 4) แนวคิดพื้นฐาน 5) หลักการ 6) จุดมุ่งหมาย 7) กระบวนการของยุทธศาสตร์ได้แก่ 7.1) กระบวนการจัดการการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นเผชิญสถานการณ์ ขั้นผสานความคิดและประสบการณ์ ขั้นสืบสานสู่การปฏิบัติ ขั้นชี้ชัดข้อกฎหมาย ขั้นขยายความรู้ไปประยุกต์ 7.2) การจัดปัจจัยสนับสนุนและการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ 8) การวัดและการประเมินผล        2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์ฯ พบว่า 1) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังการใช้สูงกว่าก่อนการใช้ยุทธศาสตร์ 2) นักศึกษาที่มีระดับผลการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ หลังการใช้สูงกว่าก่อนการใช้และแต่ละกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5           This research studied inquiry-based learning and metacognition approaches to develop strategy, the purposes of this research was 1) to develop the learning management strategy based on inquiry-based learning and metacognition approaches to enhance critical thinking and knowledge acquisition abilities 2) to study the effects of the learning management strategy.         The research consisted of three phases, as follows: Phase 1, study the states and problems of learning management; Phase 2, develop the learning management strategy 3, study the results from implementing the strategy. The sample group was the third year of undergraduate law students at the Faculty of Law and Political Science, National University of Laos in the academic year 2016. The students were randomized to be the experimental group. Duration of the experiment was ten weeks, two days a week and two hours of each day. The instruments of the study composed of learning management plans, a critical thinking ability test, a knowledge acquisition abilities evaluation. The design of the experiment was a One Group Pretest-Posttest Design. The quantitative data were analyzed to be mean, standard deviation, percent, t-test and One way ANOVA. The qualitative data were analyzed by content analysis.       The results found as follows:        1. The details of components of the strategy included: 1) strategy name 2) background and importance 3) characteristic 4) concepts and theories 5) principles 6) purposes 7) the strategy process consisted of two parts: 7.1) the learning management process; comprised five procedures including Confronting the situation, Combining thoughts and experiences, Connecting to performance, Identifying the matters of law and Extending knowledge to application and 7.2) learning support factors and environmental management, and 8) measurement and evaluation.        2. The results of implementation of the strategy found that 1) After learning through activities under the strategy, the posttest mean score of the critical thinking ability of the undergraduate law students was not below the standard level of 80 percent and was higher than the pretest 2) The posttest mean score of their knowledge acquisition abilities in high group, medium group and low group were higher than the pretest and the knowledge acquisition abilities of each group were different at the statistical significance level of 0.5.

Downloads