ผลของการปรึกษากลุ่มโดยใช้ดนตรีบำบัดต่อเจตคติและพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน

Authors

  • ชนาธิป สุนทรภักดิ์
  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์

Keywords:

เจตคติ, พฤติกรรมก้าวร้าว, นักเรียน, มัธยมศึกษาปีที่ 3, ดนตรีบำบัด, การปรึกษากลุ่ม

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มโดยใช้ดนตรีบำบัดต่อเจตคติและพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีที่ได้จากการทำแบบวัดเจตคติต่อพฤติกรรมก้าวร้าวและแบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว มีคะแนนอยู่ในตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไป จำนวน 24 คน และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีสุ่มเข้ากลุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง12 คนและกลุ่มควบคุม 12 คนเครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบวัดเจตคติต่อพฤติกรรมก้าวร้าวแบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าวและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มโดยใช้ดนตรีบำบัดการเก็บข้อมูลดำเนินการตั้งแต่เริ่มวัดผลในระยะก่อนการทดลองระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีทดสอบแบบนิวแมน - คูลส์ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มโดยใช้ดนตรีบำบัดมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อพฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมก้าวร้าวต่ำกว่านักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ไม่ได้รับการปรึกษากลุ่มโดยใช้ดนตรีบำบัดในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05         This study aimed to examine the effects of group counseling and music therapy on attitude and aggressive behaviors of students. The participants were 24 Mathayomsuksa 3 male students at Phanatpittayakarn School, Phanatnikhom District, Chonburi, selected frommale students who scored above 75 percentiles on the Attitude toward Aggressive behaviors scales and the Aggressive Behaviors scales. The sample was randomly selected into experimental group and controllgroup: 12 students in the experimental group and 12 in controllgroup. The research instruments used in this study were the Attitude towards the aggressive behaviors scale and the Aggressive Behaviors Scale group counseling and music therapy. The data collection procedure was divided into three phases: the pre-test, the post-test, and the follow-up. The data were analyzed by repeated measure analysis of variance: one between-subjects and one within-subjects, one-way ANOVA and Newman-KeulsTest.            The results revealed that the Mathayomsuksa three male students, who participated in group counseling and music therapy had lower scores on Attitude toward Aggressive behaviors scales than The control group in the post-test and the follow-up phase.the statistically difference in both phases were at .05 level.

Downloads