การศึกษาความสามารถในการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิดเรื่อง พาราโบลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Keywords:
สะเต็มศึกษา, ความสามารถในการเรียนรู้, พาราโบลาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสามารถในการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิด เรื่อง พาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ ศึกษาเจตคติที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิด เรื่อง พาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องเรียนความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 30 คน นักเรียนเหล่านี้ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิด เรื่อง พาราโบลา แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิด เรื่อง พาราโบลา ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 และแบบวัดเจตคติที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิด เรื่อง พาราโบลา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าสัดส่วนประชากร โดยใช้สถิติทดสอบ Z (Z – Test for Population Proportion) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิดเรื่อง พาราโบลา มีความสามารถในการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิด เรื่อง พาราโบลา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของคะแนนรวม มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 65 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ที่ระดับนัยสำคัญ .01 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิดเรื่อง พาราโบลา มีเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยใช้แนวคิด เรื่อง พาราโบลา อยู่ในเกณฑ์ดี The purposes of this research were to study the students’ learning abilities when they engaged in the STEM Education activities with applying concepts of parabola; and to investigate the students’ attitude toward the STEM Education activities after participating in the activities. Thirty Mathayomsuksa Five students of The Demonstration School of Ramkhamhaeng University took part in the study as the subjects. A purposive sampling was employed to recruit the participants. The instruments used in this research included lesson plans of STEM Education with applying concepts of parabola; achievement test of STEM Education with applying concepts of parabola with reliability of 0.74; and a questionnaire of attitude toward the STEM Education activities. The statistics used in the analysis of the data collected were mean, standard deviation and z – test for population proportion. The research findings have shown as follows: 1. Through the STEM Education activities, there were over 65% of the subjects with learning ability, who scored no less than 65% of the total scores, at the statistically significant .01 level. 2. The participants developed a positive attitude toward attaining the STEM Education activities at the “good” level.Downloads
Issue
Section
Articles