การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่นของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
Keywords:
ความเป็นครูผู้มุ่งมั่น, การศึกษาปฐมวัย, การจัดการการเรียนรู้Abstract
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นครูผู้มุ่งมั่นและศึกษาสภาพการจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่นของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 2) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่นของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 3) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่นของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาคุณลักษณะความเป็นครูผู้มุ่งมั่นและศึกษาสภาพการจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่นของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ระยะที่ 2 การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่นของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่นของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาความเป็นครูผู้มุ่งมั่นระยะที่ 3 เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 2 ห้องเรียน จับสลากเป็นกลุ่มทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ และกลุ่มควบคุมใช้แผนกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ การจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่น และ2) แบบประเมินความเป็นครูผู้มุ่งมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นครูผู้มุ่งมั่นเป็นคุณลักษณะของครูที่ใส่ใจทุกสถานการณ์ในชั้นเรียนที่เห็นว่ามีประโยชน์ และนำมาใช้เตรียมผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ อย่างดีที่สุดภายใต้ลำดับขั้นการคิด 3 แบบ ได้แก่ การคิดรอบด้านการมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการปฏิบัติ และการปฏิบัติอย่างตั้งใจ ประเมินได้จากแบบประเมินความเป็นครูผู้มุ่งมั่นที่ผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญร่วมกันสร้างขึ้นในลักษณะแบบวัดชนิดสถานการณ์ ซึ่งผลจากการประเมินความเป็นครูผู้มุ่งมั่นของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พบว่า มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม สำหรับสภาพการจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่นตามการรับรู้ของอาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก 2) ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่นของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมี 7 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) ชื่อยุทธศาสตร์ 2) ความเป็นมาและความสำคัญ 3) แนวคิด/ทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนายุทธศาสตร์ 4) หลักการของยุทธศาสตร์ 5) จุดมุ่งหมายของยุทธศาสตร์ 6) กระบวนการของยุทธศาสตร์ และ7) การวัดและประเมินผล โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการของยุทธศาสตร์ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างศรัทธาและรู้ปัญหา ขั้นที่ 2 มองตน นำผลสู่การวางแผนศึกษา ขั้นที่ 3 ค้นคว้าอย่างตั้งใจ และขั้นที่ 4 ก้าวไปสู่ความเป็นครูผู้มุ่งมั่น 3) ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเป็นครูผู้มุ่งมั่น พบว่า 3.1) นักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนความเป็นครูผู้มุ่งมั่นในด้านการคิดรอบด้าน การมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการปฏิบัติ และการปฏิบัติอย่างตั้งใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2) นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนความเป็นครูผู้มุ่งมั่นด้านการคิดรอบด้านและการปฏิบัติอย่างตั้งใจหลังเรียนสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับคะแนนความเป็นครูผู้มุ่งมั่นด้านการมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการปฏิบัติของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน The objectives of this research were: 1) to study the performances of the intentional teachers of Early Childhood Education students and to study the states of learning management to enhance the intentional teachers of Early Childhood Education students; 2) to develop the learning management strategy to enhance the intentional teachers of Early Childhood Education students; and 3) to study the effects of implementing the learning management strategy to enhance the intentional teachers of Early Childhood Education students. The research method was divided into three phases; Phase 1: A study of teachers’ commitment to early childhood education and the state of learning management to enhance intentional teachers of Early Childhood Education students, phase 2: Developing a learning management strategy to intentional teachers of Early Childhood students, and phase 3: A study of the effects of implementing the learning management strategy to enhance the intentional teachers of Early Childhood Education students. The sample used in phase 3 was 4th year students from Early Childhood Education program, Faculty of Education, Udon Thani Rajabhat University. The students were selected by a random sampling of two classes and divided into two groups; an experimental group used a learning management strategy plan and a controlled group used a regular learning management plan. The tools used in this research were 1) a learning management strategy to enhance intentional teachers, and 2) an assessment form of intentional teachers. The data was analyzed using mean, standard deviation and t-test. The results of the study revealed that: 1) intentional teacher was the performances of teachers who are attentive to all situations in the class that they found the usefulness and used to prepare students to learn the best under the three elements of thinking; thoughtful, purposeful, and deliberate practice. The result was evaluated by an intentional teacher assessment form which was designed by a researcher and the experts in a situational assessment form. The results of the intentional teacher assessment of early childhood education students, the average score was less than half of the full score. As for learning management environment to enhance intentional teachers of Early Childhood students as perceived by Early Childhood teachers found over all scores were high level. 2) Learning management strategies to enhance intentional teachers of Early Childhood Education students consisted of 7 key elements: 1) name of strategy, 2) background and importance 3) concepts / theories used in strategic development; 4) principles of strategy, 5) objectives; 6) strategic processes, and 7) measurement and assessment. The learning activities are organized according to the four steps; step 1: making belief and realizing, step 2: assessing efficacy and planning, step 3: intently searching, and step 4: stepping toward the intentional teachers. 3) the effects of implementing the learning management strategy found that; 3.1) the experimental group and controlled group had scores on thoughtful, purposeful and deliberate practice after class higher than before class with a statistically significant difference at the .01 level, 3.2) the experimental group had scores on the score on thoughtful and deliberate practice after class higher than the controlled group with a statistically significant difference at the .01 level. Whereas, the scores on purposeful of the experimental group and on the controlled group was not significantly different.Downloads
Issue
Section
Articles