การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)

Authors

  • พงศธร มหาวิจิตร

Keywords:

การประเมินหลักสูตร, การสื่อสาร, ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ, ซิปป์โมเดล, CIPP Model

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษา อังกฤษเชิงธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง ในด้านบริบทของหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร นักศึกษา และเจ้าของสถานประกอบการที่นักศึกษาไปฝึกงาน รวมทั้งสิ้น 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรสำหรับผู้บริหารและผู้สอน 2) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรสำหรับนักศึกษา และ 3) ประเด็นสำหรับสนทนากลุ่มเจ้าของสถานประกอบการที่นักศึกษาไปฝึกงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการ ประเมินทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งด้านบริบทของหลักสูตร (ค่าเฉลี่ย = 3.47) ด้านปัจจัยนำเข้า  (ค่าเฉลี่ย = 3.30) ด้านกระบวนการ (ค่าเฉลี่ย = 3.34) และด้านผลผลิต (ค่าเฉลี่ย = 3.40) ซึ่งจากผลการวิจัยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากยิ่งขึ้น ต่อไป           This research aimed to evaluate the Bachelor of Arts in Business English Communication (International Program), one of autonomous university. The 198 samplings were curriculum staffs, lecturers, students and entrepreneurs that students have been apprenticed. The research instruments were 1) Structured interview form for curriculum staffs and lecturers 2) Questionnaire for students and 3) Focus group discussion guideline for entrepreneurs. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean (average), standard deviation (S.D.) and content analysis. The research finding was in medium level; context (average = 3.47), input (average= 3.30), process (average = 3.34) and product (average = 3.40). This result caused to be improve the quality of curriculum to meet demand of stakeholders more strongly.

Downloads