รูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัดในอนาคต

Authors

  • วณิชชากร พงศ์ทัศนา
  • นพรัตน์ ชัยเรือง
  • ครองชัย หัตถา

Keywords:

รูปแบบการบริหาร, การจัดการเชิงกลยุทธ์, EDFR, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด, อนาคต

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดในอนาคต โดยใช้เทคนิควิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญ 17 คนประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารด้านการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 9 คน 2) กลุ่มนักวิชาการด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ 5 คน และ 3) กลุ่มผู้รับบริการจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด 3 คน จากนั้นจึงสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมทั้ง 17 คน เชิงฉันทามติสองรอบและนำมาสังเคราะห์โดยพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในระดับมากถึงมากที่สุด (Mdn≥3.5) และมีฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญ (Interquartile range≤1.5) มาสรุปเป็นรูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดในอนาคต           ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดในอนาคตมี 5 องค์ประกอบที่มีการเชื่อมโยงเป็นขั้นตอน ดังนี้1. การกำหนดวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย (1) ใช้เครื่องมือ/วิธีการ/เทคนิคที่หลากหลายในการกำหนดวิสัยทัศน์ (2) บูรณาการการดำเนินงานกับต้นสังกัด/หน่วยงานอื่นในพื้นที่ตามหลักการมีส่วนร่วม (3) เตรียมความพร้อมหน่วยงานเพื่อการกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางองค์กร และ (4) เน้นการดำเนินงานเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างแท้จริง 2. การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ประกอบด้วย (1) ใช้เครื่องมือศึกษาที่เหมาะสมและตรงตามระเบียบวิธีการใช้เครื่องมือนั้น (2) ใช้หลักการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย และ (3) เตรียมความพร้อมของหน่วยงานก่อนศึกษา 3. การกำหนดกลยุทธ์ ประกอบด้วย (1) ใช้เครื่องมือ/วิธีการที่หลากหลายในการกำหนดกลยุทธ์ (2) ใช้การมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย (3) บูรณาการปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมิติพื้นที่ช่วยกำหนดกลยุทธ์ และ (4) เตรียมความพร้อมของหน่วยงานก่อนกำหนดกลยุทธ์ 4. การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย (1) ใช้เครื่องมือ/วิธีการ/เทคนิคที่หลากหลาย เพื่อนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (2) ใช้การมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย และ (3) เตรียมหน่วยงานให้ พร้อมก่อนเริ่มดำเนินการตามกลยุทธ์ 5.การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ ประกอบด้วย (1) ใช้เครื่องมือ/วิธีการ/เทคนิคที่หลากหลายในควบคุมและประเมินกลยุทธ์ (2) ใช้กระบวนการของแผนควบคุมและประเมินกลยุทธ์ (3) กำหนดระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพเพื่อควบคุมและประเมินกลยุทธ์ และ (4) ใช้การมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายมาควบคุมและประเมินกลยุทธ์           This research aim to develope a strategic management model for provincial office of the non-formal and informal education in the futures by Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) methodology from the 17 experts in this area 1) Executive or director in the non-formal and informal education 2) academician of the strategic management and 3) Provincial office client in the non-formal and informal education. We use 3 rounds in this   method first we interviewed and then they answered our questionnaire for twice to reach the consensus. Finally we created the model from the issues which possible and appropriately (median ≥3.5) that reach the consensus (interquartile range; IR≤1.5).          The findings were: a strategic management model for provincial office of the non-formal and informal education in the futures had 5 elements that was linked as steps to   achieve the goal. First element was defining the vision and organization direction which consisted of; (1) Focus on the using of various tools/methods/techniques; (2) Apply all   stakeholders participated; (3) Set an organization readiness; (4) Focus on the operation to truly benefit the people. Second element was an internal and external environment study which consisted of; (1) The appropriate educational tools and methods was needed; (2) Apply participatory principles from all stakeholders; (3) Set an organization readiness before environment study. Third element was a strategy formulation which consisted of: (1) Apply a variety of tools / methods to formulate strategies; (2) Apply participatory principles from all   stakeholders; (3) Integrate relevant factors in the strategic dimension; (4) Prepare the   organization ahead before strategy formulation. The forth element was a strategic implementation which consisted of; (1) Focus on the using of various tools/methods/ techniques in strategic implementation process; (2) Use participation from all stakeholders; (3) Organization prepared before implementing the strategy. And the last element was a strategic control and assessment which consisted of; (1) Using various tools/methods/ techniques to control and evaluate strategy; (2) Apply a strategic plan processes to control and evaluation strategy; (3) Establishing quality management systems to control and  evaluate strategy; (4) Adjust stakeholder participation to control and evaluate strategy

Downloads