การพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

Authors

  • สุธรรม ธรรมทัศนานนท์

Keywords:

รูปแบบ, การจัดการศึกษา, กลุ่มเครือข่าย, พัฒนาคุณการศึกษา, สถานศึกษาขนาดเล็ก

Abstract

          การพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการดำเนินงานกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 3) เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการดำเนินงานกลุ่มเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 63 คน ครูจำนวน 63 คน รวม 126 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607 - 610) ศึกษาวิธีปฎิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จาก โรงเรียนต้นแบบการจัดการงานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนมีคุณลักษณะเป็นโรงเรียนที่ผ่านการประเมินภายนอกรอบ 3 อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 5 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานกลุ่มเครือข่าย จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 และ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึก และแบบประเมินฯ สถิติทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น PNI        ผลการวิจัย พบว่า        1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มี 5 องค์ประกอบดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย มี 9 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 การมีส่วนร่วมของสมาชิก มี 9 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 สมาชิกเครือข่ายมี 5 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 ภาวะผู้นำของผู้ประสานงานเครือช่าย มี 9 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 5 กิจกรรมที่ทำร่วมกัน มี 5 ตัวชี้วัด และผลการประเมินโดยภาพรวมมีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก        2. สภาพปัจจุบันการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =3.41, SD = 0.74) สภาพที่พึงประสงค์การจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.39, SD = 0.94)          3. รูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ แบ่งเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 สภาพแวดล้อมภายนอก องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยป้อนเข้า องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ องค์ประกอบที่ 4 ผลผลิต /ผลลัพธ์องค์ประกอบที่ 5 ข้อมูลป้อนกลับ ส่วนที่ 3 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 4 การประเมินผล ส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก           The objectives of this research were 1) To study the components and indicators of the network group management model for improving educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service 2) To study the current and desirable state of the network group improving educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service 3) To improve the network group for developing educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service. The research methodology consists of 3 phases as follows: Phase 1: A contextual study of the components and indicators of the network group for developing educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service. The samples of this phase were 5 connoisseurs. They were selected by purposive sampling method. Phase 2: A study of the current and desirable state of the network group for improving educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service. The samples of this phase were 63 directors and 63 teachers. They were selected by the sample method of using the Krejcie and Morgan table. And a study of the best practice schools were 5 schools. The samples of this study were 10 directors and teachers. They were selected by the purposive sampling. Phase 3: The development of the network group for improving educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service. The samples of this phase were 9 university professors. They were selected by the purposive sampling method. The instrument used in the research included; the questionnaire and the structure interview, the record review, and assessment form. The collection of data was analyzed by using the mean, standard deviation, and the priority needs index.          The results of the research were as follows:          1. The component and indictors of the network group for developing educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service consist of 5 elements following, 1) the objective contained 9 indicators 2) the participation involved 9 indicators 3) the network members entailed 5 indicators 4) the leadership and the coordinator consisted of 9 indicators 5) the collaborative activity had 5 indicators. They were all at an exceedingly high level.          2. The current state of the network group for developing educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service was appropriate at moderate level (average = 3.41, SD = 0.74). The desirable state of the network group for developing educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service was appropriate at the high level (average = 4.39, SD = 0.94).          3. The network group management model for developing the educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service was divided          1) the concept and the principle objective of model 2) the elements of the network group for developing educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan  primary education service consists of the external environment, input, process, output and feedback 3) adoption 4) evaluation 5) the condition of achievement and result of the  appropriate evaluation of the network group for developing educational quality in small-sized schools under the office of Bueng Kan primary education service was appropriate at  high level.

Downloads