การประเมินหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีวศึกษา (ฉบับปรับปรุง 2012) วิทยาลัย กำปงเฌอเตียล ราชอาณาจักรกัมพูชา
Keywords:
การประเมิน, หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีวศึกษา, วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ราชอาณาจักรกัมพูชาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีวศึกษา (ฉบับปรับปรุง 2012) วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยประยุกต์ใช้ซิปป์โมเดลในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจงรวม 158 คน ได้แก่ ผู้บริหาร 4 คน ครูผู้สอน 35 คน นักเรียน 107 คน ผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษา 3 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาหลักสูตร 5 คน และผู้สำเร็จการศึกษา 4 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าโดยภาพรวม หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีวศึกษา (ฉบับปรับปรุง 2012) วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ราชอาณาจักรกัมพูชา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านบริบท ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (1) ด้านบริบท โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งปรัชญาของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และเนื้อหาของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนโครงสร้างของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งคุณสมบัติของผู้บริหารคุณสมบัติของครูผู้สอนคุณสมบัติของนักเรียน และเวลาเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนสื่อการเรียนการสอนอาคารสถานที่และห้องปฏิบัติการ และตำราและเอกสารมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (3) ด้านกระบวนการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งการบริหารหลักสูตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผลมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (4) ด้านผลผลิต โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากซึ่งผลการเรียนรู้ของนักเรียนและการฝึกงานและผลงานจากการเรียนรู้ของนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก The purpose of this research was to evaluate high school curriculum for vocational education (revised 2012) of Kampong Chheuteal High School, Cambodia by applying CIPP Model, comprising of context, input, process and product. The sample for this research was 158 people consisted of 4 school boards, 35 teachers, 107 students, 3 graduates’ supervisor, 5 curriculum development experts and 4 graduates. The sample was selected by purposive sampling method. The data were collected through questionnaires and interviews. Percentage, mean, standard deviation and content analysis were used to analyze the data. The results showed that the high school curriculum for vocational education (revised 2012) of Kampong Chheuteal High School was in overall at high level of appropriateness that the context, process, and product were at high level of appropriateness while input was at moderate level of appropriateness. (1) Context was in overall at high level of appropriateness that the curriculum vision, objectives and contents were at high level of appropriateness while the curriculum structure was at moderate level of appropriateness. (2) Input was in overall at moderate level of appropriateness that the qualifications of school boards, teachers and students, and learning time were at high level of appropriateness. Whereas, learning media, facilities and buildings and documents were at moderate level of appropriateness. (3) Process was in overall at high level of appropriateness that the curriculum management, learning and teaching activities, and measurement and evaluations were at high level of appropriateness. (4) Product was in overall at high level of appropriateness that the students’ learning and internship’s results and production were at high level of appropriateness.Downloads
Issue
Section
Articles