การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา

Authors

  • เจตปรียา ขำเสถียร
  • สุเมธ งามกนก
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น

Keywords:

หลักสูตรฝึกอบรม, สมรรถนะผู้บริหารสตรี, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำนวน 15 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ การบริหารค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 แบบวัดทักษะการบริหาร ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .79 แบบวัดบุคลิกลักษณะผู้บริหารค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .84 และแบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตร ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .80 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์          ผลการวิจัยพบว่า          1. สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) สมรรถนะด้านความรู้การบริหาร ได้แก่ มีความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและการบริหารงานในหน้าที่ 2) สมรรถนะด้านทักษะ การบริหาร ได้แก่ มีความสามารถในการปฏิบัติงานในตำแหน่ง และ 3) สมรรถนะด้านบุคลิกลักษณะผู้บริหาร ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การมีมนุษยสัมพันธ์ มีความรับผิดชอบ อดทนเสียสละ มีความคิดริเริ่ม          2. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ กิจกรรมการฝึกอบรม การวัดและประเมินผล โดยผลการประเมินหลักสูตร พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมและความสอดคล้องสามารถนำไปใช้ได้จริง          3. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินสมรรถนะด้านความรู้ การบริหาร ด้านทักษะการบริหาร และด้านบุคลิกลักษณะผู้บริหาร หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง และพบว่า คะแนนพัฒนาการด้านความรู้ ทักษะ และบุคลิกลักษณะ สูงกว่าเกณฑ์ 20% ขึ้นไป โดยมีคะแนนพัฒนาการด้านความรู้ การบริหารในช่วง 60.00-95.24% คะแนนพัฒนาการด้านทักษะการบริหาร ในช่วง 42.50 - 100% และคะแนนพัฒนาการด้านบุคลิกลักษณะผู้บริหาร ในช่วง 2.56-92.45% หลังจากการติดตามผลการฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่าคะแนนพัฒนาการด้านความรู้ไม่แตกต่างจากหลังฝึกอบรม ส่วนคะแนนพัฒนาการด้านทักษะและบุคลิกลักษณะลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสตรีอยู่ในระดับมาก          The purpose of this research was to 1) study female administrative about the need for develop in the basic education schools, 2) to develop training program for female administrators in the basic education schools, and 3) study the effects of training program for female administrators in the basic education schools. The samples were 15 female administrators in the basic education schools under Chon Buri educational service area office 1, selected by purposive sampling. The research instruments were the test of knowledge management; the confidence value is .89, test of management skills; the confidence value is .79, administrator personality test; the confidence value is .84, and satisfaction assessment; the confidence value is .80. Data were analyzed using mean, standard deviation and the relative develop scores. It was found that:        1. The female administrative competencies in the basic education schools consisted of; 1) the knowledge management; knowledge about planning and management functions, 2) the skills management; having the ability to act in the capacity, and 3) personality management; team working good human relations having patience, sacrifice, responsibility and initiatives.         2) A develop of training program for female administrative competencies in the basic education schools consisted of; rationale, aim of the course, training content measurement and evaluation the results of the evaluation found that the training is appropriate can be practically implemented.            3) Effects of training program; the average score of the performance evaluation, in the aspect of knowledge management, skills management and the administrator personality posttest was higher than the pretest. The develop of knowledge, skills and personality above 20%; the develop of knowledge management score was from 60 to 95.24%; during the develop of management skills was in a range from 42.50 to 100%; and the develop of identity management was in the range of 2.56 to 92.45%. After follow-up training for a period of one month it found the develop of knowledge was not different from the training and the develop of the skills and administrator personality declined slightly. In addition, the   trainees were satisfied with the training curriculum at the high level.

Downloads