รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1

Authors

  • กัณญารัตน์ แรกรุ่น
  • วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
  • วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Keywords:

รูปแบบการพัฒนา, ภาวะผู้นำ, ครู

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 และ 3) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ ทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 งานวิจัยนี้เป็นแบบผสมวิธี มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัจจุบันและความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษา ขั้น พื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ และครูผู้สอน กลุ่มละ 86 คน รวมทั้งหมด 258 คน จากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 86 แห่ง ด้วยแบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ ทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการนำผลจากระยะที่ 1 มาจัดทำรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษา และระยะที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ ทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และการสนทนากลุ่มผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.02, SD = 0.46) และความต้องการในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.53, SD = 0.65) 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ชื่อรูปแบบ ส่วนที่ 2 หลักการและเหตุผล ส่วนที่ 3 วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 4 แนวคิดและหลักการส่วนที่ 5 องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของครู 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) การพัฒนาตนเอง (2) การพัฒนาวิสัยทัศน์ (3) การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (4) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน และ (5) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานการเรียนรู้ และส่วนที่ 6 แนวทางการดำเนินการและเงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ และ 3) การตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 พบว่า มีความถูกต้องเหมาะสม เป็นไปได้ และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทุกส่วน           This research were to 1) study current conditions and requirements to develop the instructional leadership of basic education school’s teachers under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 1 2) develop a model of instructional leadership of basic education school’s teachers under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 1 3) examine a model to develop instructional leadership of basic education school’s teachers under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 1. The mixed method methodology was use in this research and separated this research to 3 phases as follows: the 1st phase was to study current conditions and requirement to develop the instructional leadership of basic education school’s teachers by questionnaire. The research 258 sample were used in this phase included 86 principals, 86 head of academics section and 86 teachers from 86 school in Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 1. The 2nd phase was to develop a model to develop the instructional leadership of basic education school’s teachers under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 1. The 1st phase data analysis results were used in this phase. The 3rd phase was to examine a model to develop the instructional leadership of basic education school’s teachers under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 1 by 9 qualified specialist connoisseurship and 12 qualified principals focus group. The percentage, mean, standard deviation and content analysis were used in stage of data analysis.          The findings were: 1) The current conditions of instructional leadership of basic education school’s teachers under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 1 were showed in high level (average = 4.02, SD = 0.46). The requirements of instructional leadership of basic education school’s teachers under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 1 were showed in highest level (average = 4.53, SD = 0.65). 2) The model to develop instructional leadership for teachers in basic education school under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 1 consisted of six aspects: First aspect was the model’s title. Second aspect was the model’s principle and reason. Third aspect were the model’s objectives. Forth aspect were concepts and principles. Fifth aspect were the model’s elements of instructional leadership for teachers which consisted of (1) a self-development (2) a vision development (3) a curriculum and learning development (4) learning center development and classroom management (5) a learning standard development and the last aspect was the model’s activation approach and the model’s condition to success achievement condition. 3) The Result from the examination a model to develop instructional leadership of basic education school’s teachers under the Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 1 found that this model was accurate, suitability feasibility and utility to the development of quality of education institutions were perceived every aspect.

Downloads