การศึกษาแนวคิดพื้นฐานกระบวนการเรียนการสอน และประสิทธิภาพของการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นฐาน

Authors

  • อิสรา พลนงค์

Keywords:

การเรียนรู้, ปัญหา, แนวคิดพื้นฐาน, กระบวนการเรียนการสอน, ประสิทธิภาพ

Abstract

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์แนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและศึกษากระบวนการเรียนการสอนและประสิทธิภาพของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานดำเนินการวิจัย โดยการทบทวนวรรณกรรม แหล่งข้อมูลที่ใช้เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รวมทั้งสิ้น 65 ฉบับ ซึ่งสืบค้นจากเว็บไซต์วารสารวิชาการและสถาบันทางการศึกษาที่เผยแพร่ในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีลักษณะสำคัญ 7 องค์ประกอบ คือ 1) กระตุ้นผู้เรียนด้วยสถานการณ์ปัญหาจริง 2) ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน 3) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหาสร้างองค์ความรู้ใหม่และประยุกต์ใช้ความรู้ 4) ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกันผ่านกระบวนการกลุ่ม 5) ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 6) การประเมินผลที่หลากหลาย และ 7) ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (2) การจัดการเรียนการสอนจากหลักสูตรต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นจะมีกระบวนการที่คล้ายคลึงกันซึ่งสอดคล้องกับองค์ประกอบทั้ง 7 ลักษณะ และ (3) ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ได้นำไปใช้กับหลักสูตรหลายสาขาวิชาทั้งในการแพทยศาสตรศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ธุรกิจศึกษา คณิตศาสตรศึกษา และวิทยาศาสตรศึกษาจะให้ผลลัพธ์เชิงบวกทั้งด้านเชาวน์ปัญญา ทักษะปฏิบัติ และด้านเจตคติ ทว่ามีเพียงบางหลักสูตรที่ผลการวิจัยไม่มีนัยสำคัญ และมีนักเรียนส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดทัศนคติเชิงลบต่อการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน            This is the qualitative research which have objectives: to synthesize the basic concept of Problem-Based Learning and to study the instructional processes and effectiveness of Problem-Based Learning. It was conducted by reviewing literature, 65 data resources were research and academic article and eBook about Problem-Based Learning. They were published in website of journals and academic institutions during 5 decades ago. The data was analyzed by content analysis method. The results, The PBL was created from Student-Centered Learning that has 7 components: problem, supporting the prior knowledge, searching creating and applying a new knowledge, collaboration in small group, encouraging the self-directed learning, multiple assessments and teacher as facilitator. The instructional processes of various curriculums were consistent with each other, all of them were developed from the key components of PBL. This approach has been performing in several curriculums: medical education, engineering education, business education, mathematics education and science education. The effectiveness of PBL has positive outcomes: cognitive domain, psychomotor domain and affective domain. The results of some curricular PBL had no significance and led negative attitude to students.

Downloads