การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูชีววิทยา
Keywords:
ความเชื่อ, การสอนวิทยาศาสตร์, ด้านเนื้อหาผสานวิธีสอน, นักศึกษาครูชีววิทยาAbstract
ด้วยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาจากพฤติกรรมนิยมมาเป็นสรรคนิยม การวิจัยด้านการผลิตและพัฒนาครูได้ให้ความสำคัญกับความเชื่อของครูมากขึ้น ในฐานะปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการสอนและการเรียนรู้ของครูภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ แนวคิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจคือความรู้ด้านเนื้อหาผสานวิธีสอน ซึ่งเป็นความรู้ที่จำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเฉพาะ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และพัฒนาความเชื่อเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความรู้ด้านเนื้อหาผสานวิธีสอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ จากการเก็บข้อมูลกับนักศึกษาครูชีววิทยาชั้นปีที่ 3 จำนวน 10 คน ด้วยแบบทดสอบที่มีชื่อว่า Pedagogical of Science Teaching Test (Cobern et al., 2014) ผลการวิจัยปรากฏว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนความเชื่อของตนเองให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน โดยการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนนี้เป็นผลมาจากการที่นักศึกษาเหล่านี้ให้ความสำคัญกับความคิดของนักเรียนมากขึ้น การผลิตครูวิทยาศาสตร์จึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้นักศึกษาครูตระหนักและเข้าใจความคิดของนักเรียน อันจะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนความเชื่อที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น According to a change in educational paradigm from behaviorism to constructivism, research in teacher education has given more attention to teachers’ knowledge and beliefs as a factor influencing their teaching practices and learning to teach. Under this new paradigm, a construct that gains increasing attention is pedagogical content knowledge (PCK), which is considered as necessary knowledge for teaching specific content. This research aims to examine and facilitate orientations to teaching science (OTSs), which is an important component of PCK, using scientific inquiry-based activities. Based on data collected from 10 third-year preservice biology teachers using a test called Pedagogy of Science Teaching Test (Cobern et al., 2014), the results reveal that most preservice teachers changed their orientations towards scientific inquiry-based instruction. This change is a result of that the focused more on students’ thinking. Science teacher education should give more emphasis on facilitating preservice teachers to recognize and understand students’ thinking, leading to a change in OTSs towards reform-based science education.Downloads
Issue
Section
Articles