การพัฒนาการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบสืบสอบที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธี การโต้แย้ง เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • กุลวรรธน์ อินทะอุด
  • ธิติยา บงกชเพชร
  • ศิรินุช จินดารักษ์

Keywords:

การให้เหตุผล, เชิงวิทยาศาสตร์, รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การขับเคลื่อน, ทัศนอุปกรณ์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อประเมินผลการส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์จากการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวการวิจัยดำเนินการโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงรอบ เก็บข้อมูลเพื่อสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และเก็บข้อมูลการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างเรียนด้วยรายงานการทดลองของนักเรียน และเก็บข้อมูลการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบทดสอบการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์          ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง ควรเลือกใช้ประเด็นที่มีตัวแปรที่เกี่ยวข้องหลากหลายและสามารถสำรวจตรวจสอบและหาหลักฐานมาเพื่อโต้แย้งได้ ช่วงการโต้แย้งครูควรใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักเรียนโต้แย้งและอภิปรายได้ตรงประเด็น แก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและเชื่อมโยงความรู้ทฤษฎีเข้ากับผลการทดลอง เน้นย้ำให้นักเรียนวิจารณ์และโต้แย้งโดยใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และเหตุผล นอกจากนี้ผลจากการวิจัยยังพบว่า นักเรียนมีระดับการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนสอดคล้องกับผลจากรายงานการทดลองของนักเรียนระหว่างเรียน ซึ่งพบว่าระดับขององค์ประกอบการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนดีขึ้นตามวงรอบ โดยองค์ประกอบที่พัฒนามากที่สุดคือ การสร้างข้อกล่าวอ้าง            The purposes of this research were to study how to use Argument driven inquiry instructional model to promote science reasoning ability of 11th grade students and to examine the scientific reasoning ability throughout Argument Driven Inquiry instructional model. This research employed action research methodology with 3 cycles in order to reflect learning management. Scientific reasoning was studied through students’ reports during learning management and scientific reasoning test before and after learning management. The results of this research found that it is important to select the issues that are relevant to the various variables and be able to explore, examine and find evidences to argue. During the discussion, teacher should use question to engage students to argue and discuss pertinently, correct student misconceptions and link related theories to experiment results. In addition, the results of promoting scientific reasoning using Argument Driven Inquiry instruction revealed that students had a higher level of scientific reasoning than before learning according with results from student reports during learning management. It was found that students had developed this ability continuously throughout the study. The most developed element was claim constructing.

Downloads