แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทและปัญหาเป็นฐานเรื่องแหล่งน้ำในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการคิดเชิง วิพากษ์และการแก้ปัญหา สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • รสสุคนธ์ ประทุมทอง
  • สุรีย์พร สว่างเมฆ

Keywords:

การจัดการเรียนรู้, การคิดเชิงวิพากษ์, การแก้ปัญหาแหล่งน้ำ, ท้องถิ่น

Abstract

         การวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบท และปัญหาเป็นฐานเรื่องแหล่งน้ำในท้องถิ่น ที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาของผู้เรียน และเพื่อศึกษาผลการส่งเสริมการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาของผู้เรียน จากการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทและปัญหาเป็นฐาน 3 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกกิจกรรม และแบบประเมินการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติบรรยาย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ นำคะแนนมาจัดระดับการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาตามกรอบของ Catalina Foothills School District; CFSD (2018) ที่แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ เบื้องต้น พื้นฐาน เชี่ยวชาญ และขั้นสูง          ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทและปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แหล่งน้ำในท้องถิ่นที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมบริบทพื้นฐาน เป็นการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาแหล่งน้ำในระดับโลก ประเทศ และสังคมของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ เรื่อง แหล่งน้ำในท้องถิ่นขั้นทำความเข้าใจบริบท ผู้เรียนร่วมกันทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาแหล่งน้ำในท้องถิ่นของตนเอง ขั้นกิจกรรมกลุ่มย่อย ผู้เรียนในกลุ่มเลือกประเด็นปัญหาแหล่งน้ำในท้องถิ่นสืบเสาะหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขขั้นดำเนินการเรียนรู้ ผู้เรียนในกลุ่มวางแผนแก้ปัญหาแหล่งน้ำในท้องถิ่น และเลือกแนวทางแก้ปัญหาตามที่วางแผนร่วมกัน ขั้นนำเสนอผลการเรียนรู้ ผู้เรียนอภิปรายข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายวิธีแก้ปัญหาแหล่งน้ำในท้องถิ่น และสังเคราะห์เป็นแนวทางแก้ปัญหาของกลุ่ม และขั้นอภิปรายและสรุปผลการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอและอภิปรายแนวทางแก้ปัญหาแหล่งน้ำในชั้นเรียนและร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ และ 2) ผู้เรียนมีการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา หลังการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากระดับพื้นฐานเป็นระดับเชี่ยวชาญ           The objective of this action research was to study the guidelines for context and problem based learning approach (C-PBL) in local water resources to promotes critical thinking and problem solving of 8 learners in grade 5, academic year 2018. The tools used in the research were the 3 C-PBL plans, reflections form of learning management, activities form and test of critical thinking and problem solving. Data analysis method were content analyzing and statistics, describing mean and percentage to classify level of critical thinking and problem solving with the framework of the Catalina Foothills School District; CFSD (2018), divided in to 4 levels: basic, elementary, professional and advanced The results of the research founded that the guideline of context and problem-based learning approach in basis of local water resources as follows: 1) basic context preparation is a presentation of the situation of water resources encountered at the learners’ global country and society consisted with local water resources. 2) understanding the context is understanding and analyzing the problems of water resources found in their own context consist of things to know and solve, methods and resources needed to solve the problems. 3) sub-group activity, the group of learners chose and make a search for the cause and solution of local water resources issues. 4) learning process, the group of learner plan and choose a solution to solve the water resources. 5) presentation, learners discuss and exchange information that they have studied, collect and select data to explain how to solve the problems. 6) discussion and summarizing of learning, each group present and discuss ways to solve the problems in the class and together summarize and evaluate the studied data and what they have learned. Addition, learners have critical thinking and problem solving after learning to increase from the elementary level to the professional level.

Downloads