การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องพอลิเมอร์

Authors

  • สายชล สุกร
  • สกนธ์ชัย ชะนูนันท์

Keywords:

สะเต็มศึกษา, ปัญหาเป็นฐาน, การแก้ปัญหา, แบบร่วมมือ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่พัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ และ 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่พัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ โดยดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นวงจร PAOR ที่ต่อเนื่องกัน 3 วงจรปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบบันทึกสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ และแบบประเมินสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า          ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ใช้สถานการณ์ปัญหาที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน การเน้นกระบวนการกลุ่ม มีการกระตุ้นให้นักเรียนทุกคนสะท้อนความคิด และประเมินความเข้าใจร่วมกันผ่านการอภิปราย และมีการติดตามอย่างใกล้ชิดจะทำให้นักเรียนมีพัฒนาการของสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือที่ดีขึ้น 2) นักเรียนมีการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือสูงขึ้นจากวงจรปฏิบัติการที่ 1 ถึงวงจรปฏิบัติการที่ 3 สอดคล้องกับผลการทดสอบด้วยแบบประเมินสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ซึ่งมีนักเรียนกว่าร้อยละ 72.78 อยู่ในระดับสูง           The purposes of this research were 1) to study the development of teaching approach based on STEM education through problem based learning to enhance the collaborative problem solving competency (CPS), and 2) to study the effect of teaching approach to promote collaborative problem solving competency (CPS). The research methodology was the action research through a continuous PAOR in three cycles. The participants were 15 students of grade 12th in the academic year of 2018. The research instruments consisted of the lesson plan, Reflect journal, CPS observation form and CPS test. Data analysis by content analysis and data creditability by triangulation method were used.         The research results indicated that 1) the teaching approach based on STEM education through problem based learning that interesting problem and related to daily life, focusing on group process, closely monitoring and encouraging students to reflect and evaluate their ideas with discussion can improve students tended to have a better development of the problem solving competency. 2) Student’s collaborative problem solving competency increased significantly from the first to third cycle. In addition, this result agreed with the result by using CPS test showed that 72.78 % of students were at the high level.

Downloads