การใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างนิยม (Constructivism)

Authors

  • กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์

Keywords:

เทคโนโลยีเว็บ 2.0, การเรียนรู้, ทฤษฎีการเรียนรู้, ทฤษฎีโครงสร้างนิยม

Abstract

          ที่ผ่านมานวัตกรรมและเทคโนโลยีเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้เป็นการเฉพาะด้าน เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร นวัตกรรมและเทคโนโลยีการแพทย์ เป็นต้น ในปัจจุบันสมรรถนะและศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีเว็บ 2.0 และเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องได้ถูกนำมาใช้ได้หลากหลายและเชื่อมต่อถึงกันได้ (Coccia, 2019) ในด้านการเรียนรู้โดยเฉพาะการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างนิยมด้วยเทคโนโลยีเว็บ 2.0 สามารถพัฒนาการสร้างองค์ความรู้และความคิดของผู้เรียนมากขึ้นกว่าเดิม เป็นองค์ประกอบสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้แนวสังคม (Social constructivism) (Cochrane, & Flitta, 2013) ที่ก่อให้เกิดพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคมอีกด้วย (Dang, 2018) นอกจากนี้การเรียนรู้โดยการร่วมมือกัน (Collaborative Learning) ของผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Ge, Turk, & Hung, 2019; Bai, Li, & Chen, 2018, March) เทคโนโลยีเว็บ 2.0 นอกจากช่วยสร้างองค์ความรู้และปัญญาให้กับผู้เรียนตามความสนใจเฉพาะบุคคลแล้ว ยังเป็นเครื่องมือสร้างองค์ความรู้และปัญญาร่วมกันในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพที่นำไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนได้           Innovation and technology have been introduced to meet human needs in specific area, such as, agricultural innovation and technology or medical innovation and technology, etc. Until now the potentialities and competencies of digital and communication technology or Web 2.0 technology and related technologies have been taken to meet needs of human beings’ s all areas. Those technologies can mutually communicate and interact (Coccia, 2019). And also, they support in effectively and efficiently learning, particularly, Constructivism, because they can more improve learners’ knowledge creation and cognition than the past. In addition, they are the main part of social constructivism learning environment (Cochrane, & Flitta, 2013) that develops learners’ cognition, emotion and society (Dang, 2018). Otherwise, learners’ collaborative learning is cause of learners – centered learning (Ge, Turk, & Hung, 2019; Bai, Li, & Chen, 2018, March). Besides the Web 2.0 technologies are tools for creating personal knowledge and intelligence, they are tools for efficiently creating collective knowledge and intelligence where approaching to develop the sustainable society.

Downloads