โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

Authors

  • สุขมิตร กอมณี

Keywords:

สภาพแวดล้อม, โมเดล, การจัดสภาพแวดล้อม, การเรียนแบบภควันตภาพ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ออกแบบพัฒนาและศึกษาผลการ ใช้โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยมีขั้นการวิจัย 3 ระยะ คือ          ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพด้วยการ (1) ศึกษาเอกสาร หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางการเรียน (2) สำรวจศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน (3) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยได้แก่นักศึกษาที่ใช้เพื่อการศึกษาสำรวจสภาพแวดล้อม จำนวน 389 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์          ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาโมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ (1) การวิเคราะห์โมเดล (2) การสังเคราะห์โมเดล (3) การสร้างโมเดล และ (4) การประเมินโมเดล แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินโมเดลฯจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินโมเดลระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้วยการนำโมเดลฯไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้คือ โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมที่ใช้โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพจำนวน 5 ชุด (2) แบบประเมินทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (3) แบบทดสอบการออกแบบสารเพื่อการเรียนการสอน         ผลการวิจัยพบว่า         1. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพ มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) ผู้เรียน (Learner) (2) การเชื่อมต่อเครือข่าย (Network) (3) แหล่งข้อมูลเรียนรู้ (Learning Source) (4) โปรแกรมประยุกต์ (Application Software) (5) อุปกรณ์ (Device) และ (6) นโยบาย (Policy)          2. โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยบริบท 5 ด้านคือ (1) ปรัชญา (2) ปณิธาน (3) เป้าหมาย (4) หลักการและ (5) วัตถุประสงค์ ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 4 ปัจจัยคือ (1) ปัจจัยด้าน การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา (2) ปัจจัยด้านองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพ (2) ปัจจัยเกื้อหนุนการเรียนรู้ (4) ปัจจัยด้านรายวิชาเรียน กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 7 ขั้นดำเนินงาน คือ (1) การวิเคราะห์จุดมุ่งหมาย (2) การกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ (3) การวางแผนการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน (4) การกำหนดวิธีการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน (5) การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดสภาพแวดล้อมทางการ (6) การสร้างและจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน และ (7) การประเมิน ผลลัพธ์ (Output) คือ (1) ทักษะการสื่อสาร (2) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลย้อนกลับ (Feedback) คือ (1). ข้อมูลจากการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียนจากกิจกรรมแต่ละครั้ง (2) ข้อมูลจากผลการประเมินทักษะแต่ละด้านของผู้เรียน          3. การใช้โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลปรากฏว่า (1) คะแนนทดสอบการออกแบบสารของผู้เรียนหลังการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพสูงกว่าก่อนการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ทักษะการสื่อสารและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมอยู่ที่ระดับ A (สูง) (ค่าเฉลี่ย = 2.43)          This research aims to study the elements, design, development, and study results of the use of the ubiquitous learning environment management model for undergraduate students. The study is divided into 3 stages as follows:         Stage 1 – Study elements of the ubiquitous learning environment by (1) studying the documents, principles, concepts, and theories related to the learning environment; (2) exploring the environment conducive to the learning environment; (3) conducting an in-depth interview with professionals and experts. The samples in this research included 389 students for the learning environment survey; 20 professionals and experts for in-depth interviews. The research tools were the questionnaire and interview form.         Stage 2 - The design and development of the ubiquitous learning environment model for undergraduate students consisted of 4 stages, they were (1) the model analysis; (2) the model synthesis; (3) modeling; and (4) the model assessment. The data source was a group of 7 professionals who evaluated the model, and the used instrument was the model assessment form.          Stage 3 - Study the effects of using the model of ubiquitous learning environment for undergraduate students by applying the model to the samples who were 26 undergraduate students majoring in educational technology in the Faculty of Education, Burapha University. The used instrument was the ubiquitous learning environment management for undergraduate students that included (1) 5 sets of activities; (2) communication skills assessment and use of information technology; and (3) the message design test.          The research found that;          1. There are 6 elements of the ubiquitous learning environment including (1) learners; (2) network; (3) learning source; (4) application software; (5) devices; and (6) policy.          2. The ubiquitous learning environment management model for undergraduate students consisted of 5 contexts including (1) philosophy; (2) resolution; (3) goal; (4) principle; and (5) objective. The input factors were (1) educational management in higher education; (2) elements of the ubiquitous learning environment; (3) learning supporting factors; and (4) courses. The process consisted of 7 steps of the operation: (1) purpose analysis; (2) standardization of learning outcomes; (3) learning environment planning; (4) Determination of the way to organize the learning environment; (5) the design and development of formal environmental activities; (6) creation and organization of learning environment; and (7) assessment. The outputs included (1) communication skills and (2) information technology skills. The feedback was (1) the data from the learners’ feedback from each activity and (2) the data from the assessment of individual skills of the learners.         3. From the use of the model of ubiquitous learning environment management for undergraduate students, it is found that (1) the students’ message design test scores after the ubiquitous learning environment were significantly higher than before having such environment at a level of 0.01 and (2) communication and IT skills overall were at a high level (average = 2.43).

Downloads