การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้การสืบสอบร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชันเป็นฐานเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • ณัฐนันท์ สรวงสมบูรณ์
  • จันทร์พร พรหมมาศ
  • พงศ์เทพ จิระโร

Keywords:

กระบวนการเรียนการสอน, คณิตศาสตร์, การสืบสอบ, แนวคิดเมตาคอกนิชัน, มโนทัศน์, การรับรู้ความสามารถของตนเอง

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การสืบสอบร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชันเป็นฐานเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ระยะที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพ และทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน ระยะที่ 4 การศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ได้กลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 36 คน ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าสถิติที          ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขัดแย้งทางความคิด ขั้นที่ 2 ลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 3 สรุปและตรวจสอบความคิด และขั้นที่ 4 สะท้อนความคิด 2) นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การสืบสอบร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชันเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การสืบสอบร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชันเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และการรับรู้ความสามารถของตนเอง หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05              The purposes of this study were 1) to develop of a mathematic instructional process based on inquiry and metacognitive approach to enhance mathematical concept and self-efficacy of Mathayomsuksa one students, 2) to study results of using the mathematic instructional process based on inquiry and metacognitive approach to enhance mathematical concept and self-efficacy of Mathayomsuksa one students. The research process consisted of four phases: the first phase was analyzing relevant data and theories. The second phase was designing instructional process and developing instructional process. The third phase was verified instruments and applying the instructional process to use. And last was studying results of field try-out of the developed instructional. The samples used for studying the developed instructional process were selected Cluster Random sampling to get 76 Mathayomsuksa one students in Pomnakarachsawatyanon School, Samutprakarn Province. They were divided into two groups with 40 students in the experimental group and 36 students in the control group. The duration of the experiment was 4 weeks long. The research instruments were tests of mathematical concept knowledge and self – efficacy. Data were analyzed by using Arithmetic mean, standard deviation, and t-test.           The research results were: 1) The developed instructional process composed of four stages: cognitive conflict, hands-on, summarizing and thinking about thinking, reflection. 2) The students who were taught by using the mathematic instructional process, had mean score of mathematical concept and self-efficacy on post-learning were higher than pre-learning at the .05 level of significance. 3) The students who were taught by using the mathematic instructional process, had mean score of mathematical concept and self-efficacy on post-learning higher than the students who were taught by using the regular instructional model at the .05 level of significance.

Downloads