ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) สำหรับนิสิตฝึกปฏิบัติ การสอน

Authors

  • สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์

Keywords:

หลักสูตรฝึกอบรม, การเรียนรู้วิชาชีพ, รูปแบบการประเมินของโพรวัส

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง กระบวนการชุมชน การเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) สำหรับนิสิตฝึกปฏิบัติการสอนโดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรของโพรวัส กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตฝึกปฏิบัติการสอน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่เป็นอาสาสมัคร จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่องกระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อการฝึกอบรม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยโดยอาศัยการแจกแจงที (One Sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) สำหรับนิสิตฝึกปฏิบัติการสอนที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบคือ หลักการและที่มา วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ เนื้อหา ตารางกิจกรรม แผนการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.67, SD = 0.64) 2) ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ สำหรับนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน หลักสูตรของโพรวัส 2.1) ผลการประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของหลักสูตรฝึกอบรม จากผลการประเมินวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของหลักสูตรฝึกอบรม 6 ข้อ กำหนดเกณฑ์ผ่านร้อยละ 50 ผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรมตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1, 3, 5, และ 6 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรมตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และ 4 สูงกว่าเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและผลการศึกษาเจตคติต่อการฝึกอบรมเรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ ด้านกระบวนการอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.73, SD = 0.44) 2.2) ผลการประเมินผลผลิตของหลักสูตรฝึกอบรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีเจตคติต่อการฝึกอบรมเรื่อง กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ ด้านผลที่ได้รับจากการฝึกอบรม อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.82, SD = 0.41)            The purpose of this research were 1) to develop the training program on Professional Learning Community (PLC) for student teachers 2) to study the effect of the PLC training program by applying Provus’ Discrepancy Evaluation model. The sample group was 15 volunteer students practicing teaching of the Faculty of Education, Burapha University. The research instruments consisted of 1) The PLC training program, 2) The Achievement Test on PLC was a multiple-choice test consisting of 20 items, and 3) the attitude test towards the PLC training program used Likert’ 5 rating scales consisting of 12 items. The statistics used for data analysis were Percentage, Mean, Standard Deviation and One Sample t-test. The research results showed that; 1) The PLC training program for student teachers has the following components: principles and sources, objectives, indicators of success, content, activity schedule, activity plan Measurement and evaluation are appropriate at a high level. (average = 4.67, SD = 0.64) 2) The effect of the PLC training program for student teachers by applying Provus’ Discrepancy Evaluation model as follows: 2.1) the evaluation of the PLC training program for student teachers were consistent with the objectives of the training program. Six items on behavioral objectives of the training program were specified passing criteria at 50%, and the results of item no. 1, 3, 5 and 6 were higher than the statistical significance at the level of 0.05 while item no. 2 and 4 were higher than the statistical level without statistical significance. The study of attitude towards the PLC training program in terms of process were at very high level (average = 4.73, SD = 0.44), and 2.2) the evaluation of the PLC training program in terms of output were at very high level (average = 4.82, SD = 0.41)

Downloads