การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนาหลวง สังกัดสำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

Authors

  • นาซอฟ๊ะ ฮะซา
  • สุนทรา โตบัว
  • ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์

Keywords:

การวิจัยปฏิบัติการ, รูปแบบของ S S E M A, โรงเรียนนาหลวง, กลุ่มสาระการเรียนรู้, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนาหลวง สังกัดสำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนาหลวง สังกัดสำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้าราชการครูที่สนใจเข้าร่วมการพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ปฏิบัติการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรม การพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แบบบันทึกข้อมูลการพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แบบบันทึกผล การเรียนรู้ของครู แบบวัดเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ทั้งนี้มีการหาคุณภาพเครื่องมือโดยเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบ เพื่อนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสังเกต นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยทำให้ได้แนวทางการพัฒนาความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้วยรูปแบบของ S S E M A มีลักษณะสำคัญ คือ 1. การริเริ่มตนเอง (Self made: S) 2. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking: S) 3. การเสริมแรงจูงใจ (Extra Motivation: E) 4. การดูแลให้คำปรึกษาแนะนำMentoring: M) และ 5. การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning: A) ทำให้ครูมีความ สามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75.58 คุณภาพของผลงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 5 คน และระดับดี จำนวน 4 คน และครูมีเจตคติต่อ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับดีมาก            The objectives of this research were 1) to develop guidelines to enhance competence in classroom action research in Mathematics and Science Teachers at Naluang School, Thung Khru District Office, Bangkok 2) to study the result of using guidelines to enhance competence in classroom action research of Mathematics and Science Teachers at Naluang School, Thung Khru District Office, Bangkok. by using the action research methodology. The target population were 9 governmental teachers in Mathematics and Science Department, who were interested in participating in developing competence of classroom action research management. The research instruments consisted of learning activity plans, ability development recording data form, the learning achievement form, attitude evaluation form, and quality evaluation for classroom action research. For this research, three qualified persons had verified the quality of instruments and tools for index of item-objective congruence (IOC). The statistics used for quantitative data analysis were average, standard deviation, including collecting the qualitative data by observation. Allmentioned data were using content analysis. The product of research conduces the guidelines of competence development in classroom action research management by using S S E M A Model, the principal features were 1) Self made: S 2) Systems Thinking: S 3) Extra Motivation: E 4) Mentoring: M 5) Assessment for Learning: A. The results found that using S S E M A Model, all teachers can be developed their ability in classroom action research that passed the criteria of 75.58 percentage. The quality of classroom action research reported at high level of satisfaction were 5 persons and at good level 4 persons. And teachers’ attitude evaluation were reported at high level as well.

Downloads