การศึกษาความเครียดของนักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงคราม

THE STUDY OF STRESS OF TEENAGE STUDENTS STUDYING IN THE MATHAYOMSUKSA 6 OF SCHOOL UNDER SECONDARYEDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 10 IN SAMUTSONGKHRAM PROVINCE

Authors

  • วนัญญา แก้วแก้วปาน

Keywords:

ความเครียด, นักเรียนวัยรุ่น, ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10, จังหวัดสมุทรสงคราม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความเครียดของนักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามเพศ ระดับผลการเรียนเฉลี่ย การพักอาศัย และรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 284 คน ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตร Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ตามเขตพื้นที่อำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .910 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่า (t–test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F–test หรือ One-Way ANOVA)  ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงคราม มีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( ค่าเฉลี่ย = 51.60) และ 2) นักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงครามที่มีเพศต่างกัน มีความเครียดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนเพศหญิงมีความเครียดสูงกว่าเพศชาย ส่วนนักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ย การพักอาศัย และรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือนต่างกัน มีความเครียดโดยรวมไม่แตกต่างกัน   This research had the purpose for studying and comparing the stress level of teenage students studying in the mathayomsuksa 6 of schools under the secondary educational service area office 10 in Samutsongkhram province. Students were classified by genre, GPD, residents, and monthly income of families. There were 284 samples from the formula calculation of Taro Yamane which had the reliance level at 95%. The sample group was operated by stratified random sampling in each district. Tool used for collecting data were the personal information questionnaire, the Suanprung Stress Test-20, reliability value of 0.910, the descriptive statistical analysis, t-test, and F-test or One-Way ANOVA. The results were shown that 1) in general, teenage students studying in the mathayomsuksa 6 of schools under the secondary educational service area office 10 in Samutsongkhram province were stressed at the high level (average = 51.60), and 2) teenage students studying in the mathayomsuksa 6 of schools under the secondary educational service area office 10 in Samutsongkhram province who had the different genre had the different stress level as the statistical significant level at .05. Female students were stressed more highly than the male students. Teenage students studying in the mathayomsuksa 6 who had the different GPA, residents, and monthly income of each family had no different stress level.

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ. การประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กครั้งที่ 12. กรมสุขภาพจิต กรุงเทพมหานคร.

กีรติ ผลิรัตน์. (2557). ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครที่เรียนกวดวิชาเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และวิทยา เหมพันธ์. (2556). ศึกษาความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารมหาวิทยาลัยแม่โจ้. 1(1), น. 42-58.

เบญจพร ตันตสูติ. (2560). เข็นฝันขึ้นภูเขา. กรุงเทพมหานคร: พราว โพเอท.

พนม เกตุมาน และคณะ. (2556). ปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบในนักศึกษาแพทย์ศิริราชที่ไม่สำเร็จ การศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2525-2550. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.2556. 58(3), น. 271-282.

พรมมณี โฮชิน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์. (2561). สื่อสารให้เข้าใจความเครียดในเด็กวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.chula.ac.th/cuinside/7625.

ภูเบศร์ สมุทรจักร. (2561). ความห่างเหินในครอบครัวไทยยุคโซเชียลมีเดีย. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.thailandplus.tv/archives/16917.

รุจิรดา พุฒิตรีภูมิ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ จังหวัดตรัง. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร: ตรัง.

วรรณกร พลพิชัย และจันทรา อุ้ยเอ้ง. (2561). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (10) ฉบับพิเศษ, 94-106.

วรรณธิรา ชูทอง. (2548). ความเครียดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีพัทลุง อ.เมือง จ.พัทลุง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2562). การดูแลเฝ้าระวังความเครียดในวัยรุ่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 6(2), 279-285.

สุจิตรา อู่รัตนมณี และสุภาวดี เลิศสำราญ. (2560). ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของนักเรียนวัยรุ่นที่เตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 31(2), 78-94.

สุภาภัทร ทนเถื่อน. (2553). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2563). ยูนิเซฟเผยผลกระทบโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทยพบเยาวชน 8 ใน 10 คนเครียดด้านปัญหาการเงินของครอบครัวมากที่สุด. เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://1th.me/eLcRw.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2554). การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและการปรับตัว. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณี มิ่งประเสริฐ. (2557). การศึกษาสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 40(2), 211-227.

Akriti Goel & Sunayna Bardhan. (2016). Effect of stress on self-efficacy and emotional intelligence among college students of humanities and sciences: A study on gender differences. International Journal of Applied Research. 2(12), 318-328.

Blazer, C. (2010). Student stress. Information capsule research service, 1006, 1-18.

Crandell, T., Crandell, C., & Vander, Z. J. (2012). Human development. (10th ed). New York, NY: McGraw Hill.

Horwitz, A. G., Hill, R. M., & King, C. A. (2011). Specific coping behaviors in relation to adolescent depression and suicidal ideation. Journal of adolescence, 34, 1077-1085.

Lazarus RS, Folkman S. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Springer Publishing Company Inc.

Rosenberg, M. (1965). Society and the adolescent self-image. Princeton, NJ: Princeton University Press.

Selye H. (2013). The Stress of Life. New York: McGraw-Hill, 766.

Downloads

Published

2022-10-09