การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอำเภอพาน สำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

THE DEVELOPMENT OF READING FOR MAIN IDEA ABILITIES BY LOCAL LITERATURE FOR THE LEARNER IN SCHOOL OF PHAN DISTRICT, CHIANG RAI PROVINCE

Authors

  • ณิชาพัฒณ์ ไชยเสนบดินทร์

Keywords:

การอ่านจับใจความ, วรรณกรรมท้องถิ่น, วรรณกรรมท้องถิ่นอำเภอพาน , อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เพื่อใช้ในการสร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความ 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ แบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่น ของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่น ของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 20 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเจริญเมืองวิทยา จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามวรรณกรรมท้องถิ่นอำเภอพาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องวรรณกรรมท้องถิ่นอำเภอพาน 3) แบบฝึกการอ่านจับใจความ เรื่องวรรณกรรมท้องถิ่น อำเภอพาน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (average) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า  1) วรรณกรรมท้องถิ่นอำเภอพาน มีจำนวน 20 เรื่อง แบ่งได้ 2 ประเภทคือ นิทานเบ็ดเตล็ด จำนวน 16 เรื่อง และนิทานขำขัน จำนวน 4 เรื่องผลของการพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นของอำเภอพาน มีเกณฑ์ประสิทธิภาพเท่ากับ 81.07/76.23  2) ผลของการพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นของอำเภอพาน มีเกณฑ์ประสิทธิภาพเท่ากับ 81.07/76.23  3) ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความ เรื่องวรรณกรรมท้องถิ่น อำเภอพาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The objectives of this research were 1) to study local literature in Phan district, Chiang Rai province in order to create reading comprehension exercises. 2) to create and develop effective reading comprehension exercises for prathom suksa 5 students using these local literature to achieve the standard 75/75 criteria.  3) to study  the results of reading comprehension ability after using reading exercises of   local literature in Phan district, Chiang Rai province.  The sample used in this study included 20 community leaders, Folk philosophers and people in Phan district of Chiang Rai province and 15 prathom suksa 5 students of Jaroen Muang Wittaya School. The research instruments were 1) a questionnaire of local literature in Phan district. 2) lesson plans constructed along with ideas of local literature in Phan district. 3) local literature comprehension reading exercises of Phan district. 4) a test of comprehension reading ability. The data were analyzed to determine mean (average), standard deviation. T-test Dependent and content analysis was also examined.  The results of this research were as follows:  1. Local literature in Phan District contained 20 stories, divided in to 2 types with 16 miscellaneous stories and 4 funny stories.  2. Reading comprehension ability of prathom suksa 5 students using Phan district local literature had an efficiency criterion equal to 81.07/76.23.  3. The comprehension reading ability of prathom suksa 5 students after using the local literature comprehension reading exercises of Phan district was significantly higher than before at the .05 level.

References

ชยาภรณ์ พิณพาทย์. (2542). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพเพื่อสอนซ่อมเสริม เรื่อง การสะกดการันต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ปริญญานิพนธ์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณิชาพร ปรีชาวิภาษ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัญมาส ตันเสถียร. (2544). การใช้วิธีอ่านเรื่องเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถทางการอ่านต่ำกว่าระดับเฉลี่ย โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประพิณพร เย็นประเสริฐ. (2548). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้สื่อท้องถิ่น นนทบุรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ประมวล พิมพ์เสน. (2542). นิทานพื้นบ้านอีสาน. ขอนแก่น: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น.

พนิตนันท์ บุญพาที. (2542). เทคนิคการอ่านเบื้องต้นสำหรับบรรณารักษ์. นครราชสีมา: สถาบันราชภัฏ นครราชสีมา.

พรรณฤนันท์ ละอองผล. (2546). ครูภาษาไทยกับบทบาทด้านภูมิปัญญาไทย. 60 ปีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: ประมวลบทความทางการศึกษาการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้, 37-48. นนทบุรี: พี.เอส.พริ้นท์.

มาเรียม นิลพันธ์. (2547). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รังษิมา สุริยารังสรรค์. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วธัญชนก อุ่มสกุล. (2553). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สื่อท้องถิ่นพิษณุโลกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

แววมยุรา เหมือนนิล. (2541). การอ่านจับใจความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ศรีวิไล พลมณี. (2545). ภาษาและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมัย วรรณอุดร. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและลาวเรื่อง ลำบุษบา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกัญญา ภัทราชัย. (2546). วรรณคดีท้องถิ่นพินิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloom, B.J. (Ed.), Engelhart, M.D., Furst, E.J., Hill, W.H. and Krathwohl, D.R. (1956). Taxonomy of Educational Objectives : Handbook I : Cognitive Domain. New York : David McKay.

Downloads

Published

2022-10-09