การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย

DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITY TO STRENGTHEN THE CITIZENSHIP CHARACTERISTICS IN A DEMOCRACY

Authors

  • ณัฐธิดา ดวงแก้ว

Keywords:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ , พลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย, เสริมสร้างคุณลักษณะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยในสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 โรงเรียนบ้านไร่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จำนวน 40 คน และครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความคิดเห็นของครูผู้สอนในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยในสถานศึกษา 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย 3) แบบวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย (average) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (SD) และ t-test dependent  ผลการวิจัยพบว่า  1. ความคิดเห็นของครูผู้สอนในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.18 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 ซึ่งด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.53 อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียน ประกอบไปด้วยทั้งหมด 6 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยที่ 1 พลเมืองรักษ์สิ่งแวดล้อม หน่วยที่ 2 พลเมืองรู้ทันสื่อรู้เท่าทันข่าว หน่วยที่ 3 พลเมืองดีมีคุณธรรม จริยธรรม หน่วยที่ 4 พลเมืองเคารพกฎหมาย หน่วยที่ 5 พลเมืองอาสามีจิตสาธารณะ และหน่วยที่ 6 พลเมืองรู้สิทธิและหน้าที่ โดยแต่ละหน่วยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ หน่วยละ 3 ชั่วโมงรวมทั้งหมด 18 ชั่วโมง  3. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 โรงเรียนบ้านไร่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีค่าเฉลี่ย (average) เท่ากับ 2.56 อยู่ในระดับดี และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.27 ซึ่งสูงกว่าก่อนทำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  This research aimed to 1) study the opinions of teachers on the development of democratic citizenship characteristics in educational institutions. 2) develop a set of learning activities in enhancing democratic citizenship characteristics and 3) study the results of using learning activities to enhance democratic citizenship characteristics of prathom suksa 3 - 6 students at Ban Rai School, Chiang Saen District, Chiang Rai. The sample used for this research were 40 prathom suksa 3 - 6 students and 40 primary school teachers at Ban Rai School, Chiang Saen District Chiang Rai. The instrument used in this study was composed of a survey of teachers’ opinions on the development of democratic citizenship characteristics in educational institutions, the developed learning activity series and the assessment form of democratic citizenship characteristic of learners. The data were analyzed by using mean (average), standard deviation (SD) and t-test dependent analysis.  The research results were as follows:  1. The teachers’ opinions on the development of learners’ democratic characteristics as a whole was 3.18, with the standard deviation of 0.66. In terms of environmental conservation, the average value was 3.53, categorized as the highest level.  2. The developed learning activity package for enhancing student Democratic Citizenship Characteristics consisted of 6 units; Unit 1 Citizen role in conservation of the environment, Unit 2 Citizen cognitive awareness of media and news, Unit 3 Citizen morality, Unit 4 Citizen respect for the law, Unit 5 Citizen = public awareness and Unit 6 Citizens awareness of rights and duties. Each unit took a learning time of 3 hours, 18 hours in total.  3. The effect of using a learning activity package in enhancing Democratic Citizenship Characteristics of prathom suksa 3-6 students at Ban Rai School Chiang Saen District Chiang Rai Province had an average (average) equal to 2.56, categorized as a good level, with a standard deviation (SD) of 0.27. The result was statistically higher than before using learning activities at a level of .05 significances.

References

กระมล ทองธรรมชาติ. (2533). ประชาธิปไตย : ความหมายและความเป็นมาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.

ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. (2558). สอนหนูให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ : เพอลังอิ.

ฉวีวรรณ กินาวงค์. (2542). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2554). ความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: พี.เพรส.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). พัฒนาการเมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่ “คน”. ม.ป.ท.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2556). คู่มือการจัดกิจกรรมในรายวิชา เพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยใน เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาและทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

วรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์์สำหรับครู. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

วลัย พานิช. 2542. ความเป็นพลเมืองดีในวิชาสังคมศึกษาการวิเคราะห์หลักสูตรมัธยมศึกษาประมวลบทความ. กรุงเทพฯ: รัตติกร การพิมพ์ จำกัด.

วิชัย ภู่โยธินและคณะ. (2551). จิตสำนึกพลเมืองในบริบทประชาสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ดุษฏีมหาบัณฑิต (ประชากรศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุจิตรา วันทอง. (2554). การวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2547). การสร้างสื่อการสอนและนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาผู้เรียน. ราชบุรี: ธรรมรักษ์การพิมพ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อุไรวรรณ ใจคำปัน. (2554). การใช้ชุดกิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ฮาว จังหวัดลำปาง. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย.

Ester Goh (1998). Processing e Experiential Learning. In the Pfeiffer Library.

Downloads

Published

2022-10-09