การใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษา โปรแกรมวิชาการสอนภาษาจีน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

USING ROLE-PLAYING ACTIVITIES FOR STUDENTS’ CHINESE SPEAKING SKILLS IMPROVEMENT IN THE CHINESE LANGUAGE TEACHING PROGRAM, FACULTY OF EDUCATION, CHIANG RAI RAJABHAT UNIVERSITY

Authors

  • เสาวคนธ์ จันต๊ะมาต

Keywords:

กิจกรรมบทบาทสมมุติ, การสอนภาษาจีน, ทักษะการพูดภาษาจีน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, Role-play activities, Chinese Teaching, Chinese speaking skills, Learning achievement, Satisfaction

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนก่อนและหลังเรียนโดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โปรแกรมวิชาการสอนภาษาจีน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการฟังและการพูดภาษาจีน 2 (รหัสวิชา TCN1202)  ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563  ด้วยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม ได้หมู่เรียนที่ 1 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ  แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาจีนก่อนและหลังเรียนการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.33/88.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2. ทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนอยู่ในระดับมากที่สุด The purposes of this study were 1) to create and measure the effectiveness of a learning plan using role-play activities according to the 80/80 criteria; 2) to compare Chinese speaking skills before and after learning by using role-play activities.; 3) to study students’ satisfaction towards the role-play activities. The research samples were the first-year students from the Chinese Language Teaching Program, Faculty of Education, Chiang Rai Rajabhat University, who enrolled in the course of Chinese listening and speaking II (TCN1202) in the second semester, academic year 2020. The cluster random techniques were used to select 26 students from group 1 for the study. The research tools were a learning plan using the role-play activities, pre and post Chinese speaking skill tests, and students’ satisfaction questionnaire on the role-play activities. Data were analyzed by using descriptive statistics such as percentage, mean (average) and standard deviation (S.D.). The results showed that: 1. The efficiency value (E1/ E2) of the learning plan using the role-play activities was at 85.33/88/77, which was higher than the 80/80 criteria. 2. The Chinese speaking skills of the students after studying using role-play activities of the students were higher than before, with statistical significance of .05 level. 3. The students were highly satisfied with the use of role-play activities for the improvement of their Chinese speaking skills.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ชัยยงค์ พรหมวงค์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาวิจัย. ปีที่ 5ฉบับที่ 1(มกราคม – มิถุนายน 2556)

ทิศนา แขมมณี., (2519). การใช้บทบาทสมมติในการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2552) . รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551) .วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9199 เทคนิคพริ้นติ้งนิทาน.

ปิยจิตร สังข์พานิช. (2560) .การพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติสำหรับนักศึกษาวิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ.วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ. 40(134), 41-54.

อัญชลิการ์ ขันติ. (2562). ศึกษาศาสตร์สาร. พิมพ์ครั้งที่ 1 . เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฮวาน ฮวาน หม่า, ชมพูนุท เมฆ เมืองทอง, นิรุต ถึงนาค. (2019). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ. Chophayom Journal, 30(2), 143-153.

Werth, M. (2018). Role-play in the Chinese Classroom.

Downloads

Published

2022-10-09