ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
THE RELATIONSHIP BETWEEN THE INTERNAL EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE PROCESS AND THE PARTICIPATION IN EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE AT PROGRAM LEVEL OF AGRICULTURE AND NATURAL RESOURCES FACULTY, RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY TAWAN-OK
Keywords:
กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน, การมีส่วนร่วม, การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร, Internal education quality assurance process, Participation, Education quality assurance at program levelAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ของบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ของบุคลากรจำแนกตามสายงาน และประสบการณ์ทำงาน โดยการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมดในหน่วยงาน ได้แก่ บุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จำนวน 61 คน ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.87, SD = 0.29) และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการประเมินคุณภาพ (ค่าเฉลี่ย = 4.06, SD = 0.38) ด้านการดำเนินงานและเก็บข้อมูล (ค่าเฉลี่ย = 4.03, SD = 0.36) ด้านการวางแผน (ค่าเฉลี่ย = 3.73, SD = 0.32) และด้านการเสนอแนวทางการปรับปรุง (ค่าเฉลี่ย = 3.69, SD = 0.26) ตามลำดับ 2. การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ของบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.69, SD = 0.26) และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 4.01, SD = 0.64) ด้านนักศึกษา (ค่าเฉลี่ย =3.81, SD = 0.86) ด้านการกำกับมาตรฐาน (ค่าเฉลี่ย = 3.76, SD = 0.96) ด้านอาจารย์ (ค่าเฉลี่ย =3.73, SD = 0.94) ด้านหลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน (ค่าเฉลี่ย =3.67, SD = 0.97) และด้านบัณฑิต (ค่าเฉลี่ย =3.56, SD = 0.90) ตามลำดับ 3. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร จำแนกตามสายงานและประสบการณ์ทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน 4. กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.69) และรายด้าน ได้แก่ การวางแผน (Plan) การดำเนินงานและเก็บข้อมูล (Do) การประเมินคุณภาพ (Check/ Study) และการเสนอแนวทางการปรับปรุง (Act) มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.68, 0.60, 0.57 และ 0.50 ตามลำดับ) The objective of this research were to study the relationship between the internal education quality assurance process and the personnel participation in education quality assurance at program level of Agriculture and Natural Resources Faculty, Rajamangala University of Technology Tawan-Ok and to compare the personnel participation in education quality assurance at program level when classified by respondents’ line of work and work experience. The population of this research were personnel of Agriculture and Natural Resources Faculty, Rajamangala University of Technology Tawan-Ok, consisted of 61 administrators, instructors and supporting. The research instrument were a questionnaire of the internal education quality assurance process and a questionnaire of the personnel participation in education quality assurance at program level. Data were analyzed in terms of mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA and Pearson’s product moment correlation coefficient. The findings showed that: 1. The internal education quality assurance process of Agriculture and Natural Resources Faculty, Rajamangala University of Technology Tawan-Ok in overall (average = 3.87, SD = 0.29) and individually were rated at a high level. The rankings from highest to lowest were: 1) Check/ Study (average = 4.06, SD = 0.38) 2) Do (average = 4.03, SD = 0.36) 3) Plan (average = 3.73, SD = 0.32) and 4) Act (average = 3.69, SD = 0.26) respectively. 2. The personnel participation in education quality assurance at program level of Agriculture and Natural Resources Faculty, Rajamangala University of Technology Tawan-Ok in overall (average = 3.69, SD = 0.26) and individually were rated at a high level. The rankings from highest to lowest were: 1) Learning supports (average = 4.01, SD = 0.64) 2) Students (average = 3.81, SD = 0.86) 3) standard control (average = 3.76, SD = 0.96) 4) instructors (average = 3.73, SD = 0.94) 5) Curriculum, Teaching & learning strategy and learners’ assessment (average = 3.67, SD = 0.97) and 6) Graduates (average = 3.56, SD = 0.90) respectively. 3. Comparisons of the personnel participation in education quality assurance at program level of Agriculture and Natural Resources Faculty, Rajamangala University of Technology Tawan-Ok revealed significant differences (p<.05) in overall and individually when classified by line of work and work experience. 4. The internal education quality assurance process in overall was significant (p<.05) positive correlation with the personnel participation in education quality assurance at program level (r = 0.69). In each process included Plan, Do, Check/ Study and Act were significant (p<.05) positive correlation with the personnel participation in education quality assurance at program level with the Pearson’s Correlation Coefficient r = 0.68, 0.60, 0.57 and 0.50 respectively.References
กชกร ดาราพาณิชย์. (2555). การรับรู้ การมีส่วนร่วม และการยอมรับของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีต่อการประกันคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เกษรา ตรีไพชยนต์ศักดิ์. (2556). การศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน: กรณีศึกษา สาขาวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย Routine to Research มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จินดารัตน์ บัวพงชน. (2560). ปัจจัยการบริหารที่สัมพันธ์ต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในศูนย์การ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จำนงค์ จั่นวิจิตร. (2559). การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์นี้ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
บุรพร กำบุญ. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษามหาวิทยากรุงเทพธนบุรี. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1746-1757.
บุษรา มิ่งขวัญ. (2558). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเอกชนในระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. รายงานวิจัยองค์กร.
ปรารถนา อังคประสารทชัย. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พนิดา วัชระรังสี. (2556). การรับรู้ และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับ อุดมศึกษา เขตนนทบุรี ปีการศึกษา 2556. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. (2563). รายงานประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา. (Self – Assessment Report: SAR). ชลบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
รุ่งเรือง สิทธิจันทร์. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. PULINET Journal, 4(3), 105 – 112.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.