ขุมปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อสังคมแห่งความสุขของผู้สูงอายุยุคใหม่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

WISDOM OF FOLK HANDICRAFT FOR HAPPINESS AND ACTIVE AGING SOCIETY IN EEC

Authors

  • จุฑามาศ แหนจอน
  • สุเนตร สุวรรณละออง
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง
  • พวงทอง อินใจ
  • จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
  • ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
  • ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์
  • สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์
  • เกศรา น้อยมานพ

Keywords:

ความสุขของผู้สูงอายุ, ความผาสุกของผู้สูงอายุ, ภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านแบบจักสาน, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, Happiness of elderly, Well-being of elderly, Local folk handicraft, Eastern Economic Corridor (EEC)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพ บริบท สังคม วัฒนธรรม ของผู้สูงอายุที่เป็นภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้าน 2) ศึกษาปัจจัยด้านการพัฒนาศักยภาพด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน และการถ่ายทอดองค์ความรู้หัตถกรรมพื้นบ้าน ที่มีอิทธิพลต่อความสุขและความผาสุกของผู้สูงอายุที่เป็นภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านภาคตะวันออก และ 3) สร้างฐานข้อมูลแผนที่ภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านภาคตะวันออกในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยผสมวิธี พื้นที่วิจัยครอบคลุม จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เก็บข้อมูลในปี พ.ศ. 2564 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 245 คน ระยะที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 200 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ระยะที่ 2 สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน (พื้นที่ละ 5 คน) และระยะที่ 3 สนทนากลุ่ม จำนวน 30 คน (สนทนากลุ่ม พื้นที่ละ 10 คน) ได้มาจากการเลือกตามวัตถุประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ANOVA และ MANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มจักสานอำเภอพนัสนิคม (ชลบุรี) เป็นชุนชมที่ใช้ไม้ไผ่ในการจักสาน จุดเด่นคือ ฝาชีลายดาวล้อมเดือน จดลิขสิทธิ์ลายฝาชีจำนวน 4 ลาย กลุ่มจักสานกระจูดมาบเหลาชะโอน (ระยอง) ใช้กกหรือกระจูดในการจักสาน กระเป๋า มีมากกว่า 100 ลาย และ กลุ่มจักสานแม่บ้านวังเย็น (ฉะเชิงเทรา) ใช้มะพร้าวและไม้ไผ่ในการจักสาน จุดเด่น คือ ตะกร้าไม้ไผ่ลายคุณนายมะเฟือง ผู้สูงอายุทั้ง 3 ชุมชนต้องการการสนับสนุนทางการตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาฝีมือ และการจัดการส่งออก 2. ปัจจัยด้านการพัฒนาศักยภาพด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน และการถ่ายทอดองค์ความรู้หัตถกรรมพื้นบ้าน ที่มีอิทธิพลต่อความสุขและความผาสุกของผู้สูงอายุ ได้แก่ พื้นที่ชุมชน ประสบการณ์การทำจักสาน และการปฏิบัติสมาธิ 3. ได้ฐานข้อมูลแผนที่ภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านแบบจักสานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่เป็นสารสนเทศในการบริหารจัดการต่อไป ซึ่งเข้าถึงได้ที่เว็บไซต์ http://agingwisdom.buu.ac.th/  The objectives of this research were to: 1) study the status, context, socialization, and culture of the elderly who possess folk handicraft wisdom in the Eastern Economic Corridor (EEC) and, 2) study the factors of folk handicrafts potential development and the folk handicrafts knowledge transfer that influence health and well-being of the elderly and 3) to create a map database of folk craft wisdom in the EEC. This mixed methods research was studied in Chonburi, Rayong and Chachengsao Provinces in Year 2022. The samples were 200 elderly people. Phase 1: the quantitative data were collected from 200 samples whose was recruited by simple random sampling. Phase 2: The indepth interview was employed to collect the data in 15 elderly people (5 elderly per community) and phase 3: the focus group in 30 elderly people (10 elderly per community) by purposively selected. The data were analyzed by using Multiple Analysis of Variance and Sheffe’s method of pair comparison. The results were that: 1. Basketry Community at Phanat Nikhom District (Chonburi) is the bamboo basketry weaving handicraft community. The unique product is a special cone-shape cover with bamboo strip. They have ownership of 4 pattern copyright. Krajood basketry weaving community at Klaeng District (Rayong Province) make basketry handicraft by using reeds or krajood with more than 100 weaving patterns. Wang Yen housewife community (Chachoengsao Province) made handicraft from coconuts and bamboo, the best known is Khun Nai Ma Pheung Basket pattern. The elderly in 3 communities needed the support on marketing. product design, skill development and export product. 2. The factors of folk handicrafts potential development and the folk handicrafts knowledge transfer that influence health and well-being of the elderly and also to create a map database of folk craft wisdom of elderly were community areas, basketry-making experiences and meditation. 3. The data base on local folk handicraft for EEC can be seen at http://agingwisdom.buu.ac.th/

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). รายงานประจำปี 2560 กรมกิจการผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จากhttps://www.dop.go.th/th/implementaion/2/1/1152

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม และ สิริชัย ดีเลิศ. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(2), 152-167.

จุฑามาศ แหนจอน. (2559). อิทธิพลของการเพ่งความสนใจที่มีต่อสมรรถนะทางอารมณ์และความผาสุกของนิสิตปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(2), 208-222.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2556. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2561. https://thaitgri.org/?p=38670

อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่ และสุจริต สุวรรณชีพ. (2544). การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 46(3), 227-232.

อุทัยวรรณ ภู่เทศ. (2560). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องจักสานบ้านดงชะพลู ตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร สังคมปริทัศน์, 6(4), 180-188.

Ryff, C. D. (2014). Psychological well-being revisited: Advances in the science and practice of eudaimonia. Psychotherapy and psychosomatics, 83(1), 10-28.

World health Organization. (1996). WHOQOL-BREF. Introduction, Administration, Scoring and generic version of the assessment: field trial version, December 1996

Downloads

Published

2022-10-10