ประสบการณ์และปัจจัยเกี่ยวข้องที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนวิชาวินด์เซิร์ฟตามการรับรู้ของผู้เรียน

EXPERIENCE AND RELEVENT FACTORS INFLUENCING WINDSURFING LEARNING AS PERCEIVED BY LEARNERS

Authors

  • เกษมสันต์ พานิชเจริญ
  • ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี

Keywords:

วิชาวินด์เซิร์ฟ, ประสบการณ์จากการเรียน, ปัจจัยเกี่ยวข้องที่ส่งผลกระทบต่อการเรียน, windsurfing course, learning experience, factors that had influenced on learning

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ในการเรียนวิชาวินด์เซิร์ฟตามการรับรู้ของผู้เรียนและปัจจัยเกี่ยวข้องที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนวิชาวินด์เซิร์ฟ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นนิสิตสาขาวิชาพลศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวินด์เซิร์ฟ ในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 32 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกต การสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง การเขียนแผนที่ความคิด และการบรรยายเหตุการณ์สำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยด้วยวิธีการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล ตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลโดยใช้วิธีตรวจสอบโดยกลุ่มตัวอย่างร่วมกับวิธีสามเส้า ผลการศึกษาสามารถแบ่งได้เป็น 2 หัวข้อได้แก่ หัวข้อแรกประสบการณ์ในการเรียนวิชาวินด์เซิร์ฟ ประกอบด้วยประสบการณ์ที่ดี คือ (1) ได้เรียนรู้และฝึกทักษะกีฬาทางน้ำชนิดใหม่ และ (2) ได้เรียนในทะเล ส่วนประสบการณ์ที่ไม่ดี คือ ได้รับบาดเจ็บจากการเรียน ส่วนหัวข้อที่ 2 ปัจจัยเกี่ยวข้องที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนวิชาวินด์เซิร์ฟ ประกอบด้วยปัจจัยที่สนับสนุนการเรียน คือ (1) ครูผู้สอนมีวิธีการสอนที่ดี (ขั้นตอนการสอนง่ายต่อการเรียนรู้, มีการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี และกิจกรรมการเรียนสนุกสนาน) (2) ความมุ่งมั่นตั้งใจของตัวผู้เรียน (3) เพื่อนร่วมชั้นเรียนคอยให้ความช่วยเหลือ และ (4)  ระบบรักษาความปลอดภัยและให้ความช่วยเหลือที่ดี ขณะที่ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน คือ (1) อุปกรณ์การเรียนชำรุดและไม่เพียงพอ (2) สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียน (3) สถานที่เรียนอยู่ไกลและต้องเสียค่าเดินทาง (4) สิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ (5) การเรียนไม่ต่อเนื่อง และ (6) ร่างกายและจิตใจของผู้เรียนไม่พร้อม  The purpose of this qualitative research was to explore learning experiences as perceived by participants and relevant factors influencing learning a windsurfing course. The key informant was 32 physical education students who enrolled in a windsurfing course in the 2020 academic year. Data were collected by observation, semi-structured interview, concept map, and critical incidence. Data were inductively analyzed using a constant comparison method and data triangulation. Findings indicated 2 themes; First, the learning experience included positive and negative experiences. Positive experience included (1) learning and practicing new water sport (2) learning in the sea. A negative experience is injuring from the course. The second theme, related factors that had influenced on learning a windsurfing course, factors that learning support include (1) teacher has good teaching method (the teaching process is easy to learn, good feedback and fun learning activities), (2) Learners are committed, (3) Classmates are there to help and (4) good safety and security system. Negative factors were (1) lack of equipment, (2) The environment is not conducive to studying, (3) the place of study being far away and travel expenses, (4) insufficient facilities, (5) continuous learning, and (6) the students’ bodies and minds are not ready.

References

เกษมสันต์ พานิชเจริญ. (2561). การเล่นวินด์เซิร์ฟขั้นพื้นฐาน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 13(2), 1-13.

เชิดชัย ชาญสมุทร. (2547). เอกสารประกอบการสอนวินด์เซิร์ฟ 1. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

ชาญชัย อินทรประวัติ, สมเกียรติ ชอบผล, เพิ่มศักดิ์ สุริยจันทร์, สุรชา อมรพันธุ์, บุญมา ไทยก้าว, เกษม สุริยกัณฑ์, ณรงค์ เทียมเมฆ และอุดร รัตนภักดิ์. (2549). การศึกษาสภาพและปัจจัยที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกายในสถานศึกษาในประเทศไทย. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ประภาศิริ วงษ์ชื่น. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพของการฝึกตันเถียนโยคะที่มีต่อความอ่อนตัวและความแข็งแรง. ปริญญานิพนธ์. วท.ม. (วิทยาศาสตร์การกีฬา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประสิทธิ์ ปีปทุม. (2558). สภาพปัญหาและประสบการณ์ในการเรียนวิชาว่ายน้ำของนิสิตปริญญาตรี. วารสารคณะพลศึกษา. 18(2), 69-78.

ประสิทธิ์ ปีปทุม. (2557). การวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการเรียนพิลาทิสของนิสิตปริญญาตรี. วารสารคณะพลศึกษา. 17(1), 233-241.

มหาลาภ ป้อมสุข. (2561). การเรียนวิชาแฮนด์บอลเพื่อสุขภาพตามการรับรู้ของผู้เรียน. วารสารคณะพลศึกษา. 21(2), 23-33.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรีและเกษมสันต์ พานิชเจริญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนุกสนานในการเรียนวิชาบาสเกตบอล: กรณีศึกษา ชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 15(1), 183-192.

ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี, ปนัดดา จูเภาล์ และเกษมสันต์ พานิชเจริญ. (2560). การวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการเรียนวิชาโปโลน้ำของนักเรียนมัธยมปลาย: กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 13(1), 46-56.

สมาคมกีฬาวินด์เซิร์ฟแห่งประเทศไทย. (2556). ประวัติกีฬาวินด์เซิร์ฟ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิการยน 2563, จาก https://guru.sanook.com/5957/

สาลี่ สุภาภรณ์. (2561). การเลือกออกกำลังกายของผู้สูงอายุและปัจัยยเกี่ยวข้อง: กรณีศึกษา. วารสารคณะพลศึกษา. 21(2), 11-22.

สาลี่ สุภาภรณ์. (2559). คอร์สโยคะที่นิสิตปริญญาตรีต้องการ. วารสารคณะพลศึกษา. 19(2), 37-52.

สาลี่ สุภาภรณ์. (2558). ประสบการณ์ในการเรียนวิชาวิทยาการสอนของนิสิตวิทยาศาสตร์การกีฬา. วารสารคณะพลศึกษา. 18(1), 42-56.

สาลี่ สุภาภรณ์. (2550). วิจัยเชิงคุณภาพทางพลศึกษาและกีฬา. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุทธิดา สุวรรณรัตน์และสาลี่ สุภาภรณ์. (2557). ประสบการณ์ในการฝึกพิลาทิสของกลุ่มตัวอย่าง. Proceeding งานประชุมวิชาการ นำเสนอผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 32 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 132-143.

อุษากร พันธุ์วานิช. (2558). การเรียนวิชายิมนาสติกตามการรับรู้ของผู้เรียน. วารสารคณะพลศึกษา. 18(1), 27-41.

Bornhoft, S. (2001). Windsurfing. UK: New Holland.

Garn, A. C. & Cothran, D. (2006). The Fun Factor in Physical Education. Journal of Teaching in Physical Education. 25, 281-297.

Graham, G., Holt2Hale, S. A., & Parker, M. (2003). Children Moving: A Reflective Approach in Physical Education. 5th. Ed. Mountain View, CA: Mayfield.

Rink, J. (2006). Teaching Physical Education for Learning. 5th ed. Boston, MA: McGraw-Hill.

Downloads

Published

2022-10-10