การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนเชิงรุก โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่องวงจรไฟฟ้า ระดับประถมศึกษา

THE DEVELOPMENT OF ANALYTICAL THINKING SKILL THROUGH ACTIVE LEARNING BY THING PAIR SHARE ON ELECTRIC CIRCUIT AT PRIMARY SCHOOL LEVEL

Authors

  • กัลยาดา เหง่าบุญมา
  • จิรดาวรรณ หันตุลา

Keywords:

การพัฒนาการคิดวิเคราะห์, การจัดกิจกรรมการเรียนเชิงรุก, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, วงจรไฟฟ้า, Development of analytical thinking, Active learning activities, Action Research, Electrical circuits

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดกิจกรรมเชิงรุกโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think pair share) เรื่องวงจรไฟฟ้าของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 คน ในจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 รูปแบบในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติ การ ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าระดับประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมเชิงรุกโดยใช้เทคนิค เพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) จำนวน 5 แผนที่ปรับปรุงมาจากกิจกรรมในหนังสือเรียนประเทศญี่ปุ่น 2) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน 3) แบบบันทึกกิจกรรมการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ เรื่องวงจรไฟฟ้าก่อนและหลังทำกิจกรรม และแบบบันทึกกิจกรรมการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 วงจรปฏิบัติประกอบด้วยวงจรปฏิบัติที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-3 และวงจรปฏิบัติที่ 2 แผนการจัดารเรียนรู้ที่ 4-5 ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งการคิดวิเคราะห์ออกเป็น 3 องค์ประกอบคือ การวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความ สัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์การประเมิน การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สถิติพื้นฐาน และ หาค่า t-test โดยการใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดกิจกรรมเชิงรุกโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด  (Think Pair Share) นักเรียนมีการพัฒนาคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นทั้ง 3 องค์ประกอบทั้งด้านการวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ โดยนักเรียนมีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05  This research aim was to develop analytical thinking through active learning by using the Think-pair-share technique on the electrical circuits of primary school students. The sample group in the research was 18 grade 6 students in Chaiyaphum Province in the first semester of the academic year 2021. The action research related to the primary level of electrical circuits was used. The research instruments were 1) lesson plans on electrical circuits constructed by active Learning using the Think-Pair-Share technique, amounting to 5 lessons that are adapted from activities in Japanese textbooks 2) The students’ analytical thinking was tested before and after studying 3) the electrical circuit analysis test was used before and after the activity. The data collection is divided into 2 cycles: cycle 1 including lesson plans 1-3, and cycle 2 including lesson plans 4-5. Analytical thinking was analyzed in three components consisted of significance analysis, correlation analysis, and analysis of principles. The data were also analyzed using criteria for assessing students’ analytical thinking by using basic statistics, and t-test by using the Wilcoxon Signed Ranks Test. The research findings found that active learning using the think-pair-share technique could develop students’ analytical thinking in all 3 components: significance analysis, correlation analysis, and analysis of Principles. The students had higher scores of post-test Analytical Thinking than pre-test scores of Analytical Thinking, it was found that there is a difference between the pre-test score and post-test score at .05 level of significance.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2579). สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา.

กรวี นันทชาด. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องสมบัติของธาตุและสารประกอบ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สืบค้นจาก http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2562/M127017/Nantachad%20 Kronrawee.pdf.

พรทิพย์ ดิษฐปัญญา. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความมั่นใจในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 14(2), 24-41. สืบค้นจากhttp://ejournals.swu.ac.th/index.php/jindedu/issue/view/1168.

เยาวมาลย์ อรัญ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคคิดเดี่ยวคิด คู่คิด คิดร่วมกัน (think pair Share) เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สืบค้นจาก http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/ Yaowamarn.Aru.pdf.

วัฒนา หงสกุล. (2561,มิถุนายน 29). การจัดการเรียนรูเชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0 Active learning management in Thailand 4.0. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. สืบค้นจาก http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/1642.

สุนิสา บางวิเศษ. (2562). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 13(3), 184-195. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/179582.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุษา ภิรมย์รักษ์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Dearamae, R. et al. (Eds.) (2016). The characteristics of professional teaching in science. Proceeding of the 4th International Conference of Science Educators and Teachers (ISET), Khon Kaen, Thailand: Science Education Association (Thailand) (SEAT), pp.

Gardner, J. and Belland, B.R. (2012). A Conceptual Framework for Organizing Active Learning Experiences in Biology Instruction. Journal of Science Education and Technology, 21, 465–475.

Downloads

Published

2022-10-10