การประเมินความต้องการจำเป็นต่อการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

Needs Assessment of Teachers Participation in Improvement Plan for The Education Quality of Schools Under the Chachoengsao Primary Educational Service Area Office 1

Authors

  • ฐิตาภัทร์ รุ้งรามา
  • ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์
  • กัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์

Keywords:

การมีส่วนร่วม, แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา, การประเมินความต้องการจำเป็น, participation, improvement plan for the education quality, need assessment

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นต่อการมีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำนวน 324 คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของสภาพที่เป็นจริงมีค่าเท่ากับ 0.978 และค่าความเชื่อมั่นของสภาพที่คาดหวังมีค่าเท่ากับ 0.972 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงต่อการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.01, S = 1.294) ส่วนสภาพที่คาดหวังต่อการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.57, S = 0.666) 2) ครูมีความต้องการจำเป็นต่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบกลยุทธ์พัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาเป็นอันดับที่ 1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเป็นอันดับที่ 2 การมีส่วนร่วมในการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นอันดับที่ 3 การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเป็นอันดับที่ 4 การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภายในและภายนอกของสถานศึกษาเป็นอันดับที่ 5 และการมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพภายในและภายนอกของสถานศึกษาเป็นอันดับสุดท้าย  This objectives of this research were to assess the need of teacher’s participation in improvement plan for the education quality of schools under the Chachoengsao primary educational service area office 1. The samples were 324 of teachers in Chachoengsao primary educational service area office 1 by using multi - stage random. The research instrument was 5 rating - scale questionnaire. The reliability of perceived in actual is 0.978 and the reliability of perceived in expectation is 0.972. The data was analyzed by mean, standard deviation, and priority needs index modified (PNImodified) The result found that 1) the perceived in actual of participation in improvement plan for the education quality of schools were at the moderate level (average = 3.01, S = 1.294)and the perceived in expectation of participation in improvement plan for the education quality of schools were at the high level (average = 4.57, S = 0.666) 2) The teachers need to participate in establish a strategy for educational development of educational institutions were first. Participation in setting the direction of educational management of educational institutions were second. Participation in the appointing of a work group to prepare an educational quality development plan were third. Participation in the preparating of educational management development plans of educational institutions that focus on quality according to educational standards of educational institutions were fourth. Participation in the analysis of data on the internal and external conditions of the educational institution were fifth and participation in collecting information about the internal and external conditions of the educational institution were last.

References

แพรทอง นะวัน. (2558). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผนพัฒนาสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2554 – 2558 ของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร. (วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณิศา พิมพร. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศราวุธ บัวผัน. (2555). การพัฒนาแผนพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนในฝันของโรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. (วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต). กำแพงเพชร:มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สินี สุขุมาลรังสี. (2558). การบริหารจัดการชั้นเรียนที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองคุณภาพในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563-2565. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ความสำคัญของงานงบประมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทิศ ขาวเธียร. (2549). การวางแผนกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

Published

2023-01-27