การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องเทคนิคการระบายสีน้ำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

Study of Learning Achievement in Watercolor Painting Techniques by Using Active Learning Management (Active Learning)

Authors

  • ศิริพร ธนะทรัพย์ทอง
  • สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง

Keywords:

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, เทคนิคการระบายสีน้ำ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้, Active learning management, Watercolor painting technique, Learning achievement

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง เทคนิคการระบายสีน้ำ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งกราด เรื่อง เทคนิคการระบายสีน้ำ ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน เรื่อง เทคนิคการระบายสีน้ำ โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งกราด อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีห้องเรียน จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน โดยสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ระยะเวลาจำนวน 10 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติแบบ t-test dependent sample ผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.58/94.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ 80/80 2. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยก่อนเรียนอยู่ที่ 17.90 และคะแนนหลังเรียนอยู่ที่24.05 ซึ่งนำคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบ พบว่า มีค่า t เท่ากับ 23.045 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้  2) ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนการสอน  3) ด้านการใช้สื่อสารการเรียนการสอน 4) ด้านการวัดผลและประเมินผล ผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด The objectives of this study are as follows: (1) to study the effectiveness of proactive learning management about watercolor painting techniques; (2) to study the level of learning achievement; and (3) to study the level of student satisfaction. The population used in this research were Mathayomsuksa 1 students at Ban Thung Krad School. Bang Lamung District Chonburi Province has 3 classrooms with 90 students. A total of 40 students in Mathayomsuksa 1 class were randomly assigned to the classrooms by using Cluster Random Sampling (Cluster Random Sampling), for a duration of 10 periods. The results revealed the following: (1) the efficiency of proactive learning management was 86.58/94.15, which was higher than the determined criteria of 80/80; (2) in terms of educational achievement, it was found that the mean before class was 17.98 and 24.05 after class. The comparison of this score found that the t-value was 23.045, indicating that it was higher at a statistically significant level of .01 of academic achievement after the class, which was in accordance with the hypothesis; (3) the level of student satisfaction regarding the proactive management in all four aspects included the following: (1) learning procedures; (2) class atmosphere; (3) instructional media usage; and (4) measurement and evaluation. The results of the analysis were at the most satisfactory level.

References

ทรายม่วง. (2538). อารีย์ สุทธิพันธ์ บรมครูจิตรกรรมสีน้ำสมัยใหม่. วารสารศิลปวัฒนธรรม, 16(4), 40-43.

ธีระพงษ์ กระการดี. (2558). การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต. กรุงเทพฯ: บทเรียนออนไลน์ วิชาสถิติ.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). “สรุปองค์ความรู้เรื่อง Active Learning”. http://www.teched.rmutt.ac.th/ wp-content/uploads/2018/08/สรุปactive-learning.pdf

นันทนา สำเภา. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน.อำนาจเจริญ: NANA Research. อิเล็กทรอนิกส์ (น. 2-25). ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นพดล เนตรดี. (2555). WATERCOLOR ธรรมชาติ ทิวทัศน์ และบรรยากาศทะเล กรุงเทพฯ: วาดศิลป์

ประภัสรา โคตะขุน. (2558). IOC คืออะไร. กรุงเทพฯ: เว็บไซต์การเรียนรู้ประภัสรา โคตะขุน. ราช ศิริวัฒน์. (2559), การหาความเชื่อมั่น. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์.

พะเยาว์ เนตรประชา. (2558). การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: โปรแกรมวิชาการ.

พีระพงษ์ กุลพิศาล. (2546). มโนภาพและการรับรู้ทางศิลปะและศิลปศึกษา = Conception and perception in art and art education. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรไกร นันทบุรมย์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้แบบผสานวิธี ห้องเรียนกลับด้าน พื้นที่การเรียนรู้และการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารห้องสมุด, 61(2), 47-66.

หน่วยศึกษานิเทศ (2561). แนวทางการนิเทศ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อัญชลี โสมดี. (2535). กิจกรรมศิลปศึกษา (ทัศนศิลป์). กรุงเทพฯ: โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Downloads

Published

2023-01-27