การศึกษาองค์ประกอบ และการส่งเสริมพรหมวิหารสี่ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ RACA
A Study and Enhancement of the Four Principles of Virtous Existence of Young Children Through Raca Instructional Mode
Keywords:
รูปแบบการเรียนการสอน , พรหมวิหารสี่ , การศึกษาปฐมวัย, Instructional Model , Young Children , PromwihansiAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายสําคัญเพื่อศึกษาองค์ประกอบ และส่งเสริมพรหมวิหารสี่ของเด็กปฐมวัย ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ RACA ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 5-6 ปี โรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 2,160 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 จำนวน 652 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย และชุดที่ 2 จำนวน 20 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เฉพาะผู้ที่มีคะแนนคุณลักษณะพรหมวิหารสี่ต่ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนแบบ RACA เพื่อส่งเสริมพรหมวิหารสี่ของเด็กปฐมวัย และแบบประเมิน คุณลักษณะพรหมวิหารสี่ ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นรายด้านและโดยรวม เท่ากับ 93, 93, 93 97 และ 98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) LISREL 8.72) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดทางเดียว (One Way Repeated ANOVA) และ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.พรหมวิหารสี่ ด้านเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และโดยรวมของเด็กปฐมวัยมีการแสดงออกได้ด้วยตนเองเป็นบางครั้งและต้องให้ผู้อื่นบอกเป็นบางครั้งทุกด้านและโดยรวม (M=3.29, 3.06, 3.22 2.99 และ 3.14 ตามลำดับ) และผลการวิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบพรหมวิหารสี่ มีโมเดลการวัดประกอบด้วยองค์ประกอบสี่ด้าน มีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งอันดับ 1 และอันดับ 2 แสดงว่า แบบประเมิน คุณลักษณะพรหมวิหารสี่สามารถวัดองค์ประกอบพรหมวิหารสี่คือด้านเมตตา ด้านกรุณา ด้านมุทิตา และด้าน อุเบกขาได้ 2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ RACA เพื่อส่งเสริมพรหมวิหารสี่ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยขั้นตอน การเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นทบทวนประสบการณ์ ขั้นปรับพฤติกรรม ขั้นร่วมมือแก้ปัญหา และขั้นประยุกต์ใช้ ความรู้ 3.ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ RACA สามารถส่งเสริมพรหมวิหารสี่ให้เด็กปฐมวัยมีคุณลักษณะ ของพรหมวิหารสี่ ที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .01 โดยส่งผล ต่อพรหมวิหารสี่ด้านเมตตา ด้านกรุณา ด้านมุทิตา ด้านอุเบกขา ทุกด้าน และโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 93, 95, 93, 93, และ 96 ตามลำดับ The purpose of this research was to study the factors and promotion of Promwihansi (four sublime states of mind) of preschool children using RACA learning and teaching model. The population was 2,160 second year kindergarten students, 5-6 years of age, in schools under Chachoengsao Office of Educational Service Area 2. The sample used in the study was divided into 2 sets. In the first set, 652 students were obtained by simple random sampling while 20 students of the second set were selected by purposive sampling from those who only had low score of Promwihansi attributes. The instruments were RACA learning and teaching model to promote Promwihansi of preschool children and an evaluation form for Promwihansi attributes of preschool children with the reliabilities, in individual areas and in general, of 93, 93, 93 .97 and .98 respectively. The data were analyzed by using confirmatory factor analysis (CFA) (LISREL 8.72), one way repeated ANOVA and least significant difference (LSD). The results of research were as follows. 1. Regarding Promwihansi in the areas of Metta (loving-kindness), Karuna (compassion), Muthita (sympathetic joy), and Ubekkha (equanimity), the preschool children could express them sometimes by themselves and sometimes by assistance from others (M=3.29, 3.06, 3.22 2.99 and 3.14 respectively). From the confirmatory factor analysis of Promwihansi, the factor measurement model of 4 areas was appropriate with empirical data of both 1st and 2nd orders. This showed that the evaluation form for Promwihansi attributes could measure the factors of Promwihansi in the areas of Metta, Karuna, Muthita, and Ubekkha. 2. RACA learning and teaching model to promote the Promwihansi of preschool children comprised 4 learning steps of experience review, behavior adjustment, problem-solving involvement, and knowledge application. 3. According to the use of RACA learning and teaching model, the model could promote preschool children the Promwihansi attributes with better changes in all areas with statistical difference at the level of p<.01. It affected Promwihansi in all areas of Metta, Karuna, Muthita, and Ubekkha and also in general with 93, 95, 93, 93, and 96 percents respectivelyDownloads
Published
2024-03-08
Issue
Section
Articles