การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
The Development of Math – 3C Instructional Model to Develop Basic Mathematical Skills of Young Children
Keywords:
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์, การศึกษาปฐมวัย, รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 30, Basic Mathematical Skills, Early Childhood Education, MATH - 3C Instructional ModelAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ศึกษาประสิทธิภาพ และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนแบบ MATH – 3d เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 6 ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C โดยผู้วิจัยสังเคราะห์รูปแบบการเรียน การสอนแบบ MATH - 3C จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบ การเรียนการสอนแบบ MATH - 30 ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ 7 ประการ คือ การกระตุ้นความสนใจ (Motivation : M) การเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Active Learning : A) การถ่ายโยง การเรียนรู้ (Transfer of Learning) : T) การผสานเป็นหนึ่งเดียวของศีรษะคือสมอง หัวใจ และมือ (Head, Heart, Hands : 1) การเล่น สรรค์สร้าง (Constructive Play : C) การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ (Constructive Learning : C) และ การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning : C) จากนั้นจึงกำหนดขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียน รู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การกระตุ้น ใคร่รู้ ขั้นที่ 2 การตัดสินใจเลือกเล่น ขั้นที่ 3 การเล่น และขั้นที่ 4 การนำเสนอผลงาน ต่อมาจึงนำรูปแบบการ เรียนการสอนแบบ MATH - 3C ที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมของ รูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C โดยผู้วิจัยดำเนินการ ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กำหนดแบบแผนการทดลองเป็นการ วิจัยประเภทตกแต่ง - ดัดแปลง (Patch – up Design) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 37 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One Way analysis of variance : Repeated Measures) และการทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD) ระยะที่ 3 การนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ไปใช้ในสภาพจริง โดยครูปฐมวัย ที่ปฏิบัติ งานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 6 คน นำรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ไป ทดลองใช้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการสอนครูปฐมวัยทุกคนตอบแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ การเรียนการสอนแบบ MATH – 30 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูป แบบ การเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 ได้แก่แผนการจัดประสบการณ์ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการ สอน และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยแบบทดสอบมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.29-0.67 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23-0.92 และแบบทดสอบทั้งสามชุดมีค่าความเชื่อมั่น 0.80, 0.77 และ 0.77 ตามลำดับ และระยะที่ 3 ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยครูปฐมวัย ) ผลการวิจัยพบว่า 1 รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH – 3C ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00-4.80 ซึ่งส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2. หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งรายด้านทุกด้านและโดยรวมทั้ง 8 ทักษะ สูงกว่าทั้งก่อน การทดลองและหลังการทดลอง และระหว่างการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นทักษะการรู้ค่าจำนวนที่เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าระหว่างการ ทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH - 3C ตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่นำรูปแบบการเรียน การสอนไปทดลองใช้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.50 – 5.00 The purposes of this study were to develop a MATH - 3C Instructional Model to develop basic mathematical skills of young children, and to investigate the efficiency and the effects of the model. The research methodology consisted of 3 phases as follows: Phase I: A MATH - 3C Instructional Model was developed. The model was synthesized from the study of related documents and researches, and the factors of the model were determined. The model comprised 7 factors of Motivation (M), Active Learning (A), Transfer of Learning (T), Head, Heart and Hands (H), Constructive Play (C), Constructive Learning (C) and Cooperative Learning (C). After that, 4 steps of learning experience were established according to the concept of the model. They were Step 1 Motivation, Step 2 the Decision to Play, Step 3 Play, and Step 4 Presentation. The model was then presented to 5 experts for the evaluation of its appropriateness. Phase II: The efficiency of the MATH - 3C Instructional Model was investigated. The model was experimented within the period of 8 weeks. The experiment followed the Patch-Up Design. The sample was 37 second year kindergarten students of Chonburi Kindergarten School under the jurisdiction of the Chonburi Educational Service Area Office, in the second semester of the 2010 academic year, selected by simple random sampling. The data were analyzed by using One - Way analysis of variance: repeated measures and least significant difference (LSD). Phase III: The MATH – 3C Instructional Model was used in the actual classroom situations. The model was put into practice by a teachers of 5-6 year-old kindergarten students, under Pathum Thani Educational Service Area Office, in the second semester of the 2010 academic year. The experiment was carried out within 1 week. The teachers were asked at the end of their teaching to complete the questionnaire to evaluate the appropriateness of the model. The tools used in the research were different according to the 3 phases of the study as follows. In Phase I, the questionnaire for experts to evaluate the appropriateness of the MATH -36 Instructional Model was used. For Phase II, lesson plans, a handbook for the model, and 3 sets of basic mathematical skills test were used. The difficulties of the tests were from 0.29 to 0.67 while the discriminations of the tests were from 0.23 to 0.92 and the reliabilities of the tests were 0.80,0.77 and 0.77 respectively. In Phase III, the questionnaire for the teachers to evaluate the appropriateness of the model was used. The results of this research showed that: 1. The appropriateness of MATH – 3C Instructional Model according to the opinions of the experts was at the high to highest levels with the mean (X) of 4.00 – 4.80. It was mostly at the high level. 2. After the learning experience according to the concept of the MATH - 3C Instructional Model, the basic mathematical skills of young children were higher than those before and after the experiments both in all 8 individual areas and in general. Their basic mathematical skills during the experiment were also higher than those before the experiment with statistical significance at the level of .01, except in the area of Valuation of Number Skill. Under the area, the basic mathematical skills of young children after the experiment were higher than those during the experiment with statistical significance at the level of .05. 3. The appropriateness of MATH - 3C Instructional Model according to the opinions of the teachers, who carried out the experiments with the model, were at the highest level with the mean (X) of 4.50 - 5.00Downloads
Published
2024-03-08
Issue
Section
Articles