การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบของชุดเครื่องมือการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง ความน่าเชื่อถือของผลการวัด (Generalizability Theory)

The Development and Validation of an Instrument Packet Model for Authentic Assessment in Mathematics of Mathayomsuksa 1 Using Application of Generalizability Theory

Authors

  • สาวิตรี จัยทอง
  • สุวิมล กฤชคฤหาสน์
  • นิภา ศรีไพโรจน์

Keywords:

การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง, ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดแบบ ทดสอบวัดความสามารถจริง, แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกในการเรียนรู้, authentic assessment, Generalizability Theory, authentic test

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) สร้างชุดเครื่องมือการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ฉบับ และ (2) ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ ของ ชุดเครื่องมือการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือ ของผลการวัด (Generalizability Theory) จำนวน 3 รูปแบบ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 43 โรงเรียน มีประชากรทั้งสิ้น 16,793 คน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 7 โรงเรียน รวม 10 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 413 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling) โดยทำการสร้างชุดเครื่องมือการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ทั้งนี้ได้สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการวัดและประเมินผลด้วยเครื่องมือดังกล่าว การเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach) สหสัมพันธ์แบบไบซีเรียล (Biserial Correlation) จากนั้นหาคุณภาพของรูปแบบของชุดเครื่องมือการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ทั้ง 3 รูปแบบ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง (G - Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดเครื่องมือการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยได้สร้างประกอบด้วยแบบประเมิน จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกในการเรียนรู้ (Behavior – Observation) แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self – Efficacy) และแบบวัดการกำกับตนเอง (Self - Regulation) โดยแบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) พบว่า ชุดเครื่องมือการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง รูปแบบที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยแบบประเมิน จำนวน 3 ฉบับ มีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง เท่ากับ 0.80 รูปแบบที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยแบบประเมิน จำนวน 4 ฉบับ มีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง เท่ากับ 0.92 และรูปแบบที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยแบบประเมิน จำนวน 5 ฉบับ มีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง เท่ากับ 0.93  The purposes of this study were to: (1) develop an authentic assessment model in Mathematics of Mathayomsuksa 1 students, and (2) check the validity quality of an instrument packet model by apply Generalizability Theory. The population consisted of 16,793 Mathayomsuksa I students under Mathayomsuksa Educational Service Area Office 1. The sample of this study consisted of 413 Mathayomsuksa I students. They were selected by the multi-stage random sampling technique. The study was conducted by constructing the authentic assessment model. The lesson plans were created for Spec's approach of learning in order to comply with the process of measuring and evaluating the effectiveness of such equipment. The data were analyzed by basic statistics, Alpha Coefficient, Cronbach, Biserial Correlation and validation of an instrument packet model for authentic assessment by G - Coefficient. The result of this research indicated that: (1) The development of authentic assessment model in Mathematics of Mathayomsuksa I students which consisted of 3 packets. Packet I model consisted of 3 instruments were the authentic test, the behavior - observation and the portfolio; Packet II model consisted of 4 instruments were the authentic test, the behavior - observation, the portfolio and the self-efficacy; Packet III model consisted of 5 instruments were the authentic test, the behavior - observation, the portfolio, the self-efficacy and the self - regulation. The study of quality of an instrument packet model for authentic assessment in Mathematics by application for Generalizability Theory. We studied the reliability which consisted of generalizability coefficient of packet model. The result found that the Generalizability Coefficient of packet I model which consisted of 3 instruments was 0.89, packet II model which consisted of 4 instruments was 0.92, packet III model which consisted of 5 instruments was 0.93.

Downloads

Published

2024-03-12