องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

The Organizational Effectiveness Factors of the Educational Service Area Office

Authors

  • บัญญัติ เพ็ญจันทร์

Keywords:

ประสิทธิผลองค์การ , องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การ , สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา, Organizational Effectiveness, The Organizational Effectiveness Factors, The Educational Service Area Office

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประสิทธิผลองค์การของสํานักงานเขต พื้นที่การศึกษา และเพื่อยืนยันความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) ของตัวบ่งชี้ประสิทธิผลองค์การของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 58 แห่ง ประกอบด้วย ผู้บริหาร 174 คน ผู้อำนวยการกลุ่ม 100 คน และ บุคลากร 928 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,208 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิชนิดสัดส่วน(Proportionate Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows โดยทำการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มตัวบ่งชี้ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ (Exploratory Factor Analysis) และยืนยันความเที่ยงตรงตามสภาพโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจากคะแนนกลุ่มที่รู้ชัด (Known Groups) ด้วยสถิติ 1-test ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การของสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 62 ตัวบ่งชี้ เรียงลำดับตามความสําคัญดังนี้ 1) การติดต่อสื่อสาร มี 13 ตัวบ่งชี้ 2) ภาวะผู้นําของผู้บริหาร มี 12 ตัวบ่งชี้ 3) เทคโนโลยี มี 9 ตัวบ่งชี้ 4) ความผูกพันต่อองค์การ มี 8 ตัวบ่งชี้ 5) โครงสร้างองค์การ มี 8 ตัวบ่งชี้ 6) บรรยากาศองค์การ มี 6 ตัวบ่งชี้ และ 7) การบริหารเชิงกลยุทธ์มี 6 ตัวบ่งชี้ โดยตัวบ่งชี้ประสิทธิผลองค์การของสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษา จำนวน 52 ตัวบ่งชี้ มีความเที่ยง ตรงตามสภาพโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 จำนวน 16 ตัวบ่งชี้ และมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 จำนวน 36 บ่งชี้  The purposes of research were to study the organizational effectiveness factors and the indicators of the Educational Service Area Office and to confirm the concurrent validity for the organizational effectiveness indicators of the Educational Service Area Office. The research sample consisted of the 58 the Educational Service Area Offices in the Northeastern Part of Thailand including 174 administrators, 106 directors and 928 personnel., drawing by proportionate stratified random sampling totaled 1208 persons. The research instrument used for gathering the data was questionnaire and analyzed by descriptive statistics using SPSS for Windows, Exploratory factors analysis, and t-test for Known groups. The following conclusions were based on the finding of this research: The factors influencing organizational effectiveness of the Educational Service Area Office consisted of 7 factors and 62 indicators: 1) the communication with 13 indicators 2) leadership of the administrators with 12 indicators 3) technology with 9 indicators 4) the organizational commitment with 8 indicators 5) the organizational structure with 8 indicators 6) the organizational climate with 6 indicators and 7) the strategic management with 6 indicators. For concurrent validity, 52 organizational effectiveness indicators of the Educational Service Area Office had significant, by the concurrent validity with statistical difference at Alpha = .05 on 16 indicators, and at Alpha = .01 on 36 indicators.

Downloads

Published

2024-03-12