การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตการทำงานของครู ในสังคมพหุวัฒนธรรม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

The Development of the Quality of Work Life Indicators of Teachers in Multi - Cultural Society in the Three Southern Border Provinces of Thailand

Authors

  • วรชัย ปานนิตยพงศ์
  • เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์

Keywords:

คุณภาพชีวิตการทำงานของครู , ตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิต, สังคมพหุวัฒนธรรม, Quality of Work Life Teachers, Indicator, Multi-Cultural Society

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานและพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตการ ทำงานของครูในสังคมพหุวัฒนธรรม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยคือ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตการทำงานของครู ผู้วิจัยดำเนินการ โดยการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่ข้องเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เป็นครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อกำหนดและสร้างกรอบแนวคิดการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตการทำงานของครู ได้องค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ 114 ตัวบ่งชี้ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตการทำงานของครู ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือและให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยโดยใช้ดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (CVI) แล้วนำแบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูใน 3 เขตพื้นที่การศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,155 คน แล้วมาวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ ปรับแก้ชื่อองค์ประกอบใหม่ซึ่งพิจารณาจากค่าไอเกนในแต่ละองค์ประกอบหลังสกัดปัจจัย โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและหมุนแกนออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ พิจารณาได้ 10 องค์ประกอบ 58 ตัวบ่งชี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ 59.92 ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงตามสภาพจริง โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มครูผู้รู้ชัด ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน คือ กลุ่มครูที่มีคุณภาพชีวิตการทำงานสูง และกลุ่มครูที่มีคุณภาพชีวิตการทำงานต่ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t – test ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสังคมพหุวัฒนธรรม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 10 องค์ประกอบ 58 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบ จิตวิญญาณความเป็นครู สภาพแวดล้อมในการทำงาน ขวัญและกำลัง ใจในการทำงาน กัลยาณมิตร กิจกรรมทางสังคม ภาวะผู้นำผู้บริหาร การยอมรับจากชุมชน สุขภาวะ ผู้เสียสละ และความมั่นคงในอาชีพ ทุกตัวบ่งชี้มีความเที่ยงตรงตามสภาพจริง  The purposes of research were to study the factors and develop the indicators of the Quality of Work Life Teachers in the Multi-Cultural Society (QWLT-MCS) of the Three Southern Border Provinces of Thailand. This study was based on the three methodology steps as the following: first, the researcher had proposed the factors and the indicators of the QWLT-MCS by analyzing and synthesizing the related documentation and interviewing the group of scholars, the experience and expert teachers in the Three Southern Border Provinces of Thailand. It was found that there were extracted into 7 factor components with 114 indicators. Second, the researcher had developed the indicators of QWL-TMCS by conducted the validity instruments. The study included a sample size of nine experts for establishing the Content Validity Index (CVI) and the group of 1,155 teachers in the Three Southern Provinces at the three offices of Education Service Areas. The Exploratory Factor Analysis (EFA) through principal component analysis (PCA) with orthogonal varimax was applied to determine the underlying indicator and re-adjusted to name the factors. The EFA showed that the 10 factors with 58 indicators and could explain 59.92 of the variance; and the Third, the concurrent validity was tested among two known group of the teachers: the group of high quality of work life and the group of low quality of work life. The sample size of this group were 30 teachers and the t-test The findings revealed that were 10 factors with 58 indicators of the QWL-TMCS. They were spirituality, infrastructure, defining a morale support, Kallayanamitt, social activities, administration leadership, community acceptance, well-being, sacrifice and career stability. Every indicator provides support for acceptable concurrent validity.

Downloads

Published

2024-03-13