อิทธิพลของการสอนงานและการเอื้ออำนวยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์ 1
Effects of mentoring and facilitation on learning achievement in applied to behavioral sciences 1
Keywords:
การสอนงาน , โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง , การวิจัยเชิงทดลอง, mentoring, latent growth curve , experimental designAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1 เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนงานสำหรับนิสิตที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนงานกับผู้เรียนงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเอื้ออำนวยและประเภทการสอน งานที่ต่างกัน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนตั้งต้นและอัตรา การเปลี่ยนแปลงของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่มีการเอื้ออำนวยและประเภทการสอนงานต่างกันมีแบบแผนการทดลองเป็นแบบแฟคทอเรียลขนาด 2X3 กลุ่ม ตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ ที่ลงทะเบียนรายวิชา 2758601 จำนวน 67 คน ซึ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงการวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนพหุนาม ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้รูปแบบการสอนงานสำหรับสาระการเรียนรู้สถิติ 2. การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางด้านตัวแปรประเภทการสอนงาน พบว่า กลุ่มที่ได้รับ การสอนงานแบบกลุ่มเล็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่สุด ส่วนด้านตัวแปรการเอื้ออำนวย พบว่า กลุ่มที่ได้รับการเอื้ออำนวยแบบผสมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่สุด 3. การเปรียบเทียบคะแนนตั้งต้นและอัตราการเปลี่ยนแปลง พบว่า กลุ่มที่ได้รับการเอื้ออำนวย และประเภทการสอนงานต่างกันมีคะแนน ตั้งต้นไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มที่ได้รับการเอื้อ อำนวยแบบผสมและกลุ่มที่ได้รับการสอนงานแบบกลุ่มเล็กมีอัตราการเปลี่ยนแปลงสูงที่สุด The objective of this research were 1) to develop the mentoring model for students being mentors and mentees, 2) to compare the learning achievement between groups of students having different techniques of mentoring and facilitating levels, and 3) to compare the initial levels and slopes of learning achievement between groups having different techniques of mentoring and facilitation in studying Applied Statistics to Behavioral Sciences. The research design was a 2X3 factorial design. The sample consisted of 67 Master's Degree students registering in the course 2758601. The longitudinal data analyzed using the analysis of latent growth curve model, ANOVA and MANOVA. The research results were as follows: 1) The developed mentoring model. 2) The comparison of learning achievement of the 3 mentoring types that the small group mentoring had highest learning achievement of all. To the 2 facilitating types, the comparison that the group receiving mixed facilitating instruction had highest learning achievement of all. 3) The comparisons of the initials and slopes of learning achievement between the groups receiving different facilitation and mentoring types is not difference in the initial. The group with mixed facilitating instruction and the group with small group mentoring had highest slope of learning achievement of all.Downloads
Published
2024-03-13
Issue
Section
Articles