องค์ประกอบของธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก

The Factors of Good Governance and Philosophy of Sufficiency Economy in the Administration of Small-Sized Sub-District Administrative Organization

Authors

  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล
  • สันทัด เสริมศรี
  • สุรพล พยอมแย้ม

Keywords:

ธรรมาภิบาล , หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง , องค์การบริหารส่วนตำบล, GOOD GOVERNANCE , PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY , SUB- DISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลโดยแนวทาง ธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก จำนวน 200 คน จำนวนตัวแปรอิสระที่นำมาวิเคราะห์มี 70 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบ การสกัดองค์ประกอบหลัก การหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธกอนอนด้วยวิธี วาริแมกซ์ เมื่อได้องค์ประกอบแล้วนำมาวิเคราะห์ความตรงสมการโครงสร้าง ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการ บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก มีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม หน้าที่รับผิดชอบ ในการบริหารจัดการ การจัดการความรู้และทรัพยากร การมีส่วนร่วมของประชาชน และความรับผิดชอบต่อสังคม การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแสดงให้เห็นความสำคัญขององค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ และเรียงลำดับ ความสําคัญ ดังนี้ 1) องค์ประกอบ หน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการ (การจัดการความขัดแย้ง, การจัดการ ตามสถานการณ์และหน้าที่รับผิดชอบ) 2) องค์ประกอบ การจัดการความรู้และทรัพยากร (การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดการทรัพยากร) 3) องค์ประกอบ ความรับผิดชอบต่อสังคม (ความรับผิดชอบในการบริหารและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม) 4) องค์ประกอบ การมีส่วนร่วมของประชาชน (มีส่วนร่วมจัดทําแผนและการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา) และ 5) องค์ประกอบ คุณธรรมจริยธรรม (ความเป็นธรรมและความโปร่งใส)  ผู้วิจัยได้เสนอโครงสร้าง และแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่สำคัญของธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก รวมทั้งเสนอให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดของธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาองค์ประกอบของธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้บริหารหรือศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ปฏิบัติการ  A sub-district administrative organization (SAO) is the smallest local administration unit and is authorized to perform legal activities for the benefit of rural majority of Thais. Accordingly, SAO is recognized by community and serves as an essential mechanism for local development administration in both theory and practice. This research aimed to identify the key factors for good governance and the philosophy of sufficiency economy for the administration of small-sized SAO in Thailand. Three hundred and ninety administrators of small-sized SAO across country were interviewed to answer the questionnaires in which there were 70 variables. The tools used in this research included structured questionnaires and indepth interview forms. In this study, mean, standard deviation, percentage, factor analysis, factor extraction and varimax rotation were employed to determine key factors, and then a structural equation analysis was applied. The research findings revealed that in applying good governance and philosophy of sufficiency economy for the administration of small-sized SAO were constituted of 5 essential components, as follows: morality ethics, management/administration, knowledge and resource management, people's participation, and social responsibilities. According to confirmatory factor analysis, significant components in the order of the highest to lowest scores were as follows: 1) administrative authority (conflict management, situational management and responsibility), 2) knowledge and resource management (knowledge exchange and resource management), 3) social responsibility (management responsibility and community responsibility), 4) people's participation (planning involvement and problem solving involvement), and 5) morality-ethics (fairness and transparency). The researcher recommended the structure and guideline for the development of key factors of good governance and philosophy of sufficiency economy in order to enhance efficiency and effectiveness in the administration of small-sized SAO. The researcher also recommended that a development of indicators of good governance and philosophy of sufficiency economy as well as a study of factors of good governance and philosophy of sufficiency economy in a specific group of administrators or officers should be conducted.

Downloads

Published

2024-03-13