รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก
A Model of Professional Learning Community Development in the Catholic University
Keywords:
ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ, การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา , สถานศึกษาคาทอลิก, Professional learning community, higher education institutional development, The Catholic UniversityAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบัน อุดมศึกษา คาทอลิก และเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษา คาทอลิก โดยดำเนินการวิจัยซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบ ขั้นที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบ โดยการจัดประชุมกลุ่มสนทนาของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ขั้นที่ 4 การปรับแก้รูปแบบ ขั้นที่ 5 การตรวจประสิทธิภาพรูปแบบ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารและคณาจารย์ของวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จำนวน 71 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (average) และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และ ขั้นที่ 6 การตรวจสอบยืนยันรูปแบบ โดยจัดประชุมกลุ่มสนทนาของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำแบบสนับสนุนและภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมซึ่งความเป็นไปได้สำหรับแนวทางในการปฏิบัติจริงนั้นมี 3 ประการ คือ มีการแบ่งปันอำนาจ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีการส่งเสริมการพัฒนาภาวะผู้นำ (2) ค่านิยม และวิสัยทัศน์ร่วม ซึ่งความเป็นไปได้สำหรับแนวทางในการปฏิบัติจริงนั้นมี 2 ประการ คือ มีค่านิยมและวิสัยทัศน์ เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และมีค่านิยมและวิสัยทัศน์เพื่อการทำงานร่วมกันของบุคลากร (3) การเรียนรู้ร่วมกันและประยุกต์การเรียนรู้ ซึ่งความเป็นไปได้สำหรับแนวทางในการปฏิบัติจริงนั้นมี 2 ประการ คือมีการเรียนรู้ร่วมกัน และมีการประยุกต์ความรู้เพื่อประโยชน์ของผู้เรียน (4) สภาพการณ์ที่สนับสนุน ซึ่งความเป็นไปได้สำหรับแนวทางในการปฏิบัติจริงนั้นมี 2 ประการ คือมีโครงสร้างทางกายภาพ และมีโครงสร้างทางทรัพยากรบุคคล (5) แนวปฏิบัติที่ดีร่วมกัน ซึ่งความเป็นไปได้สำหรับแนวทางในการปฏิบัติจริงนั้นมี 2 ประการ คือ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี และมีการให้ข้อมูลย้อนกลับ และ (6) ความเป็นเลิศแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งความเป็นไปได้สำหรับแนวทางในการปฏิบัติจริงนั้นมี 2 ประการ คือ มีการพัฒนามิติบุคคล และมีการพัฒนามิติสังคม 2. การตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงของรูปแบบการพัฒนา ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดม ศึกษาคาทอลิก โดย มุ่งเน้นที่การพัฒนาภาวะผู้นำแบบสนับสนุนและภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม การส่งเสริมค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วมกัน การสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันและประยุกต์การเรียนรู้ การจัดสภาพการณ์ที่สนับสนุน การมีแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกัน และการสนับสนุนความเป็นเลิศแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้บุคลากรเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ มีความยุติธรรม ความรัก เมตตา และเอื้ออาทร The purposes of this research were to set up the model of professional learning community development in the Catholic University and to test the feasibility of the model of professional learning community development in the Catholic University. The procedures consisted of 6 steps which were: Step 1: The researcher performed the literature review. Step 2: The researcher set up the model. Step 3: The researcher tested the model. In this step, ten experts were invited to a focus group discussion to improve the model. Step 4: The researcher improved the model. Step 5. The researcher tested the feasibility of the model. In this step, seventy-one administrators and lecturers completed the questionnaire. The statistical techniques were used to analyze the data which were mean and standard deviation. Step 6: The researcher confirmed the model. In this step, eleven experts were invited to a focus group discussion to confirm the model. The research finding revealed that: 1. The model of professional learning community development of in the Catholic University comprised of six factors. The factors included (1) Shared and Supportive Leadership, which is feasible practice for three aspects : power sharing, participative decision-making, and promoting leadership; (2) Shared Values and Vision, which is feasible practice for two aspects : student learning's values and visions, and employees' values and visions in work participation; (3) Collective Learning and Application of Learning, which is feasible practice for two aspects : participative learning and knowledge application for learners' application; (4) Supportive Conditions, which is feasible practice for two aspects : physical structure and human resources structure; (5) Shared Personal Practice, which is feasible practice for two aspects : knowledge sharing of best practice and information feedback; and (6) Human Excellence, which is feasible practice for two aspects : the development of personal dimension and the development of social dimension. 2. Overall, the feasibility of the model of professional learning community development in the Catholic University had a high level. The research results could be used to develop the professional learning community in the Catholic University by the administrators. The administrators had to focus on the main factors of the professional learning community development. These comprised of shared and supportive leadership, shared values and vision, collective learning and application of learning, supportive conditions, shared personal practice, and human excellence. Moreover, the administrators had to provide some essential activities to their staffs. The activities had to involve the leadership development in the context of spirit, fairness, kindness, and generosity.Downloads
Published
2024-03-13
Issue
Section
Articles