ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้

Indicators of Peace Leadership of Educational Institution Administrators in Special Development Areas in the Southern Border Provinces

Authors

  • ศรินทิพย์ ทะสะระ
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ
  • สันติ อุนจะนำ

Keywords:

ตัวบ่งชี้, ภาวะผู้นำ, สันติสุข, เขตพัฒนาพิเศษ, Indicator, Leadership, Peace, Special Development Zone

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ และ 2) ตรวจสอบโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 850 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนใช้หลักการทางสถิติ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Factor Analysis ในรูปแบบของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยค่าความสอดคล้องทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 และวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.99 ผลการศึกษาพบว่า 1) ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุข มี 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย 100 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความสบายกาย มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 2) ความสบายใจ มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 3) ความสุข มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 4) ความสงบ มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ และ 5) ความยุติธรรม มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ และ 2) โครงสร้างตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำสันติสุข มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (X2) เท่ากับ 9.77 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 5 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value) เท่ากับ 0.08 โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก มีค่าเป็นบวกตั้งแต่ 0.82 – 0.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบหลัก และค่าองค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้ มีค่าเป็นบวกตั้งแต่ 0.47 – 1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัว (ยุทธ ไกยวรรณ์, 2557) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า  The objectives of this research were 1) to study the peace leadership indicator for administrators in the special development zone of the southern border provinces and 2) to examine the module structure of peace leadership for administrators in the special development zone of the southern border provinces. The respondents were the administrators, teachers, and school boards; the total number of respondents was 850 selected through proportional stratified random sampling. Data were analyzed using Factor Analysis statistics in the form of Confirmatory Factor Analysis (CFA). The research instrument was the five-point rating scale questionnaire with high internal consistency (α = 0.99) and content validity (IOC = 0.97). Confirmatory factor analysis (CFA) was conducted using SPSS software to analyze the data. The research results identified five leadership indicators with a total of 100 sub-indicators. These indicators encompassed: 1) physical happiness (4 sub-components, 20 indicators); 2) relaxation (4 sub-components, 20 indicators; 3) happiness (4 sub-components, 20 indicators); 4) peace (4 sub-components, 20 indicators); and 5) Justice (4 sub-components, 20 indicators). The Chi-Square test (X2= 9.77, df = 5, p-value = 0.08) supported the model's overall fit. Additionally, the Exploratory Factor Analysis (EFA) loadings ranged from 0.82 to 0.96 for overall, subcomponent, and indicator levels, exceeding the recommended threshold of 0.50. Furthermore, individual item loadings ranged from 0.47 to 1.00, surpassing the 0.30 cut-off point (Yuth Kaiyawan, 2557). These findings suggest statistically significant results at the .01 level.

References

กฤษฎา เดชนะ. (2543). ความพึงพอใจของผู้ต้องขังวัยหนุ่มต่อการจัดสวัสดิการผู้ต้องขัง: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กุลธิดา ลิ้มเจริญ. (2562). กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพตามแนวพุทธบูรณาการ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

จารึก ศิรินุพงษ์ และคณะ. (2560). กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสันติของผู้นำทางสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ปัตตานี: (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี.

จุฑามาศ พันธุ์ทอง. (2563). ความสงบสุขในชีีวิต. วารสารปรัชญาอาศรม, 2(2), 83-91.

ทิพมาศ เศวตวรโชติ. (2559). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบบูรณาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, นครปฐม.

นงลักษณ์ ลักษณะโภคิน. (2562). การสร้างตัวชี้วัดองค์กรสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ 26 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.

นฤมล จิตรเอื้อ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานอย่าง สร้างสรรค์และผลการปฏิบัติงานเชิงนวตักรรมผ่านความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 14(2), 349-280.

นวรัตน์ ไวชมภู. (2562). การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

ประภาส แก้วเกตุพงษ์. (2563). ความเข้าใจเรื่องปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนา. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(1), 508-518.

พัชรี ศิลารัตน์. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 99-111.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2557). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรากร ทรัพย์วิระปะกร และเกรียงศักดิ์ รัฐกุล. (2560). ความสุขใจของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(1), 55-68.

ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2565). แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้.

สมรัฐ แก้วสังข์. (2557). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สันติ อุนจะนำ. (2559). ตัวบ่งชี้ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้สำหรับบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, นครปฐม.

อนงค์ ไต่วัลย์ และพัชรินทร์พร ภู่อภิสิทธิ์. (2562). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวของผู้ตามและผลการดำเนินงานของผู้ตาม ในยุคไทยแลนด์ 4.0: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย ราชมงคลพระนคร.

Lindeman, R.Z., Merenda, P.F., & Gold, R. Z. (1980). Introduction to bivariate and multivariate analysis. Glenview, Illinois: Scott, Foreman, and Company.

Office of the National Education Commission. (2003). National Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendments (Second National Education Act B.E. 2545 (2002). Bangkok. Pimdeekarnpim.

Downloads

Published

2024-07-23