การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ
The Learning Management for the Development of Thai Reading Comprehension for the 7th Grade Students Using Constructivism Theory with Analogy Technique
Keywords:
การอ่านจับใจความภาษาไทย, แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์, เทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ, Thai Reading Comprehension, Constructivism Theory, Analogy TechniqueAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการอ่าน จับใจความ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (average) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบค่าที แบบ t-test for dependent sample และ แบบ t-test for one Samples ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.18/82.5 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก The purposes of this research were to: 1) develop and evaluate the efficiency of lesson plan using constructivism theory with analogy technique for the 7th-grade students base on the standard criteria 80/80; 2) compare the 7th-grade student’s Thai reading comprehension skill before and after using the lesson plan; 3) compare the 7th-grade student’s Thai reading comprehension skill after learning with the lesson plan with 70 percent criterion; and 4) assess 7th-grade students’ satisfaction with learning through the constructivism theory and analogy technique. The sample of this study was 40 Matthayomsuksa 1/1 students, who studied in Phanomsarakham “Phanom Adun Witthaya” school. The sample was randomly selected by using cluster random sampling. The research instruments consisted of the constructivism theory and analogy technique lesson plans, a Thai reading comprehension ability test, and the student satisfaction questionnaire. The statistics used in this research were mean, standard deviation, t-test for dependent samples, and t-test for one-samples. The results revealed that the lesson plan using constructivism theory with analogy technique possessed the efficiency of 80.18/82.5 which was higher than the set 80/80 of criteria. The 7th-grade students’ Thai reading comprehension skill after using constructivism theory with analogy technique was higher than the pretest scores at the .05 statistically significant level. The 7th-grade students’ Thai reading comprehension skill after using constructivism theory with analogy technique was statistically higher than the 70 percent criterion at the .05 level. The satisfaction of the 7th -grade students was at a high level.References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกริก ท่วมกลาง และ จินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์ (1998).
เกสร รองเดช. (2544). การสร้างแบบฝึกสอนซ่อมเสริมการออกเสียงพยัญชนะ ง ฟ ฝ คว และปว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เพชรเกษมการพิมพ์.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และ อัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อลีน เพรส.
ชนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบการสอนการบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุลีมาตร บรรณจงส์. (2553). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเรื่องความน่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
ชูศรี วงศ์รัตนะ และ องอาจ นัยพัฒน์. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์ : แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาภรณ์ แสงปัญญา. (2561). ผลการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ทฤษฎี การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
พิรุนเทพ เพชรบุรี. (2559). ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญพัตรา ไชยบัง. (2555). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่าน โดยใช้วิธี SQ3R สําหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, กัลยา สหชาติโกสีห์, ปรุงจิต สุจินพรัมหม, นุช ม่วงเก่า และ เปรมพร นวลนิ่ม. (2553). ศิลปะการอ่านอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ไทยร่มเกล้า.
โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา". (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา".
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้ สำหรับครูคณิตศาสตร์ : หลักสูตรการสอน และการวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
แววมยุรา เหมือนนิล. (2553). การอ่านจับใจความ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กในการ อ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา. (2552). แผนการจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. วารสารวิชาการ, 12(4), 20.
สุวิทย์ มูลคำ. (2553). ครบเครื่องเรื่องการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/
Glynn Shawn. (2007). The teaching-with-analogies model: Build Conceptual Bridges with Mental Models. Science and Children, 44(8), 52-55.
Harrison, A. G. & Coll, G. (2008). Using analogies science in middle and secondary classroom. California: Corwin Press.
Shany, M. & Biemiller, A. (2009). Individual differences in reading comprehension gains from assisted reading practice: pre existing conditions, vocabulary acquisition, and amounts of practice. New York: Columbia University.