สภาพ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Situations and Needs in Strengthening of Teachers’ Competencies in Teaching for Practice Teacher of Early Childhood Education, Faculty of Education, Burapha University

Authors

  • ณฐมนต์ คมขำ
  • ลีลาวดี ชนะมาร

Keywords:

สมรรถนะการปฏิบัติการสอน, นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, ความต้องการจำเป็น, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, Competencies in Teaching, Practice Teacher, Needs, Early Childhood Education

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) ประเมินความต้องการจำเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติ การสอน สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 95 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ได้มาจากสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวน 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .58 - .90 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .53 - .83 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น โดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน โดยรวมและรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านจิตวิจัย ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการเข้าใจผู้เรียน ตามลำดับ  The purposes of this research were to: 1) investigate the current situation and desired conditions for enhancing teaching competency among pre-service teachers in early childhood education, Faculty of Education, Burapha University, and 2) assess their needs for enhancing teaching competency. The research sample consisted of 95 students, determined using Krejcie & Morgan's table for sample size determination through stratified random sampling. The research utilizes two instruments: 1) a questionnaire on the current status of enhancing teaching competency, with an index of congruence between .80-1.00, power of discrimination from .58 - .90, and reliability of .98; 2) a questionnaire on the desired conditions for enhancing teaching competency, with an index of congruence between .80-1.00, power of discrimination from .53 - .83, and reliability of .97. The statistical analysis includes percentages, means, standard deviations, and the prioritization of needs using the Modified Priority Needs Index (PNIModified). The results revealed that: 1) the current status of enhancing teaching competency is generally at a high level, and the desired conditions for enhancing teaching competency are at the highest level; 2) the results of the need assessment for enhancing teaching competency, both overall and specific aspects, are ranked from highest to lowest as follows: research mind, assessment and evaluation of student learning, learning management, and understanding of learners.

References

เกศนีย์ พิมพ์พก, ฤตินันท์ สมุทร์ทัย, สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ และเกียรติสุดา ศรีสุข. (2560). รูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2), 45-52.

เกษมศรี อัศวศรีพงศ์ธร. (2550). สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในทัศนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารครุจันทรสาร, 10(2), 64-70.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2558). แนวทางการพัฒนาทักษะและสมรรถนะของนิสิตนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/547140.

ชาตรี ฝ่ายคำตา, เอกภูมิ จันทรขันตี และวรรณทิพา รอดแรงค้า. (2553). การศึกษาสภาพการจัดประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรการผลิตครู 5 ปี รายวิชาสังเกตและฝึกปฏิบัติงานในโรงเรียน. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 30(2), 333-345.

ญาณิน ดาจง, บงกช เจนชัยภูมิ, พูนสิน ประคำมินทร์ และทิพยวรรณ แพงบุปผา. (2564). ทัศนคติของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อสมรรถนะในการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยสันตพล .วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2),189-196.

ธัญญาพร ก่องขันธ์, สุนทรี จูงวงค์สุข, อภัยชนม์ สัจจะพัฒนกุล, กล้าหาญ พิมพ์ศรี และวริศรา ตั้งค้าวานิช. (2560). การศึกษาปัญหาและความต้องการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.วารสารครุพิบูล, 4(1), 12-21.

นงลักษณ์ งามขำ, นีรนาท จุลเนียม และปุริมปรัชญ์ ไพบูลย์สุข. (2563). การศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 7(4), 70-82.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจวรรณ เกิดในมงคล. (2546). ศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของ สถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1: (1st RUSCON). วันที่ 22 มิถุนายน 2559.

ปารณีย์ ขาวเจริญ, ดวงใจ สีเขียว และชมพูนุท สุขหวาน. (2560). การศึกษาสภาพการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(1), 99 – 108.

ปารมี ตีรบุลกุล. (2558). อิทธิพลของการปฏิบัติงานแบบสะท้อนคิดและความสามารถด้านการนิเทศที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตนักศึกษาครูโดยมีการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). กรณีธรรมกาย (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อําไพ.

แพรวนภา เรียงริลา. (2563). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอนสำหรับนักศึกษาครู (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ไพวรัญ พนมอุปการ. (2564). ผลการจัดลำดับความต้องการจําเป็นด้านการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 27 (2), 207-220.

รัชนี นกเทศ. (2565). การพัฒนากระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วีนัส ภักดิ์นรา. (2564). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(1), 8-19.

ศิรดา ทองเชื้อ และนฤมล ศราธพันธุ. (2557). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตฝึกสอน สาขา คหกรรมศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 29(2), 193-202.

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2559). รายงานชุดการปฏิรูประบบบุคลากรครู: ข้อเสนอการสร้างและคัดเลือกครูสอนดีรุ่นใหม่สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.

สโรชา คล้ายพันธ์. (2556). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา, 8(1), 63-76.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้ง 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การศึกษาประเมินความต้องการจำเป็น Need assessment research (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรณพ แสงแจ่ม. (2548). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูภายหลังการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของนิสิตฝึกสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Krejcie & Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Lew, M. M., & Mohsin, M. (2011). Action research project in teacher education program: preservice teachers’ competency and weaknesses. International Journal of Learning, 18(1), 565–573.

Moghaddam, A. (2007). Action research: A spiral inquiry for valid and useful knowledge. The Alberta Journal of Educational Research, 53(2), 228-239.

Downloads

Published

2024-07-23