การประเมินโครงการพัฒนาครูในโรงเรียนเครือข่ายด้านการจัดการเรียนรู้และ องค์ความรู้ทางวิชาการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
Project Evaluation Research of Capacity-Building Program for Teachers in Princess Chulabhorn Science High School Chonburi School Network
Keywords:
การประเมินโครงการ, การพัฒนาครู, การจัดการเรียนรู้, องค์ความรู้ทางวิชาการ, Project Evaluation, Teacher Development, Learning Management, Academic KnowledgeAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาครูในโรงเรียนเครือข่ายด้านการจัดการเรียนรู้และองค์ความรู้ทางวิชาการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายทอดส่งต่อ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการบริหารโครงการ และครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินโครงการ จำนวน 7 ฉบับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.90-0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบท มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับเป้าหมายของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.73, σ = 0.45) ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีความเหมาะสมและความเพียงพอของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.67, σ = 0.51) ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.68, σ = 0.46) ด้านผลผลิต ได้แก่ ผลกระทบ มีผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.62, σ = 0.48) ประสิทธิผลมีผลการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.65, σ = 0.47) ความยั่งยืน มีแนวทางการดำเนินงานสู่ความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.65, σ = 0.45) และการถ่ายทอดส่งต่อ มีการนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จไปประยุกต์ใช้อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.69, σ = 0.46) The purpose of this research was to evaluate the capacity-building program for teachers in Princess Chulabhorn Science High School Chonburi School network project in terms of 1) context, 2) input, 3) process, and 4) product which is divided into 4 aspects: impact, effectiveness, sustainability, and transportability. There were a total of 30 participants in the project including members of the school director, the project exclusive committees, and science and mathematics teachers. Seven questionnaires with reliabilities of 0.90-0.94 were used as the research instrument. The average and standard deviation were used for data analysis. The evaluation results revealed that: 1) the context evaluation, in terms of the ability, suitability, and consistency was at the highest level (µ = 4.73, σ = 0.45). 2) The input evaluation including the appropriateness and sufficiency of resources was at the highest level (µ = 4.67, σ = 0.51). 3) The process evaluation (I.e. the suitability of the project operation) was at the highest level (µ = 4.68, σ = 0.46). 4) Regarding the product evaluation, it was found that the impact was at the highest level (µ = 4.62, σ = 0.48), the effectiveness was at the highest level (µ = 4.65, σ = 0.47), the sustainability was at the highest level (µ = 4.65, σ = 0.45) and the transportability was at the highest level (µ = 4.69, σ = 0.46).References
กมลทิพย์ กลิ่นเพ็ชร์, สมคิด พรมจุ้ย และนลินี ณ นคร. (2556). การประเมินโครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 6.
กัตติกา ศรีมหาวโร. (2557). การประเมินโครงการครอบครัวร่วมทำ น้อมนำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสระบัว. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2), 113.
ชนากานต์ ฮึกหาญ. (2558). การประเมินหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับชาติด้านการศึกษา, 3(6), 116-126.
ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, สมจิตรา เรืองศรี, กิตติศักดิ์ ลักษณา และพรภิรมย์ หลงทรัพย์. (2560). การประเมินหลักสูตรแนวใหม่: รูปแบบ CIPPiest. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 203-212.
พิชญ์วัชร บุญเรืองรอด. (2558). การประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบซิป สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
มารุต พัฒผล. (2557). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2554). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
รำไพ แสงนิกุล. (2559). การประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2555). ส่งความสุข สู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซีโน พับลิชชิ่ง.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุรชัย จิวเจริญสกุล. (2556). รายงานการวิจัยประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุลาวัลย์ แซ่ด่าน. (2559). การประเมินโครงการความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริการชุมชนของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7. 1085-1095.
สุวรรณ บรรจง. (2558). การประเมินโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านกอกวิทยาคาร โดย CIPP Model (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation: Theory, models and applications. San Francisco: Jossey-Bass.