การประเมินโครงการการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้หลักสูตรรายวิชาสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ ศึกษา

Evaluation of the Project on the Enhancement of Students’ Desirable Characteristics Through SW2 Subject Curriculum

Authors

  • กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์

Keywords:

การประเมินโครงการ, คุณลักษณะอันพึงประสงค์, หลักสูตรรายวิชา, Project Evaluation, Desirable Characteristics, Subject Curriculum

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้หลักสูตรรายวิชาสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ ศึกษา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST  Model ประเมินทั้งระบบของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 1,868 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครูฝ่ายแผนงานและครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 8 คน ครูผู้สอน จำนวน 20 คน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 18 คน ครูหัวหน้าคณะ จำนวน 10 คน นักเรียน จำนวน 1,480 คน และผู้ปกครอง จำนวน 315 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินด้านบริบท โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย 4.1) ผลการประเมินด้านผลกระทบ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2) ผลการประเมินด้านประสิทธิผล โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.3) ผลการประเมินด้านความยั่งยืน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4.4) ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  This study aimed to evaluate the project on enhancing students’ desirable characteristics through SW2 subject curriculum based on CIPPIEST Model for evaluating the entire project system. The research samples consisted of 14 basic institutional committees, 3 school administrators, 56 school committees, 1,480 students in the academic year 2021 and 315 parents: a total of 1,868 individuals chosen by stratified and purposive sampling. A questionnaire on a five-point Likert scale was utilized to collect the data for the study. The quantitative data were analyzed Using the descriptive statistics of arithmetic mean and standard deviation. The study's findings were as follows: 1) The context evaluation was, overall, at a high level; 2) the overall input evaluation was at a high level; 3) Overall, the process evaluation was at a high level; 4) the overall product evaluation was at the highest level. The product evaluation consists of four dimensions, which are as follows: 4.1) the impact evaluation was, overall, at the highest level; 4.2) the overall evaluation of efficiency was at the highest level; 4.3) overall, the evaluation of sustainability was at the highest level; and 4.4) the overall of transportability evaluation was at the highest level.

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). พฤติกรรมก้าวร้าวเกเรในวัยรุ่น. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th

ชาตรี ตั้งอัมพรตรีพล และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนเซนต์คาเบรียล, วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 68-182.

ดำรงค์ พลโภชน์. (2555). การประเมินโครงการส่งเสริมการปฏิบัติตามค่านิยมองค์กร OBEC สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก http://research.otepc.go.th

นิภา เพชรสม. (2564). การประเมินการบริหารโครงการการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านพุตุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วารสารครุพิบูล, 8(1), 58.

นุวัฒน์ อุทารสวัสดิ์. (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(2), 28-31.

ปฏิวัติ ใจเมือง. (2559). การประเมินโครงการคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนขี้เหล็กพิทยาคม อำเภออาจสามารถ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5(2), 67-77.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). เทคนิคการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟเดอร์มิสท์.

พิณสุดา สิริธรังสี. (2562). รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ภัทรนิษฐ์ วงศ์บุญญฤทธิ์ (2563). การประเมินผลโครงการการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และธรรมแห่งใจด้วย S & S Model และวิถี ทอ.บ. ตามรอยพ่ออย่างยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(2), 181.

รำไพ แสงนิกุล. (2559). การประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย : กรณีศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ. (2563). รายงานการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ.

สมพร สังวาระ. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนเชิงบวกโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า โดยการประยุกต์ใช้แนวทางศาสตร์พระราชา. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สฤณี อาชวานันทกุล และ ภัทราพร แย้มละออ. (2560). คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมจากการลุงทุน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2553). แนวทางการพัฒนา การวัด และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์. สืบค้นจาก https://sgs.bopp-obec.info/menu/Data/measurmentGuide. pdf

สุลาวัลย์ แซ่ด่าน. (2559). การประเมินโครงการความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริการชุมชนของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Stufflebeam, D.L.; & Shinkfield, A.J. (2007). Evaluation theory, models and application. San Francisco: Jossey-Bass.

Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

Published

2023-01-18