รูปแบบการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

The Model for Education Management during the COVID-19 Pandemic of Princess Chulabhorn Science High School Chonburi

Authors

  • ทวีศักดิ์ เจริญเตีย

Keywords:

รูปแบบการจัดการศึกษา, โคโรนา 2019, Education Management Model, COVID-19

Abstract

งานวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ เป้าหมาย และตัวชี้วัด 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ของการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มภายในสถานศึกษา และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ระยะที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย แบบเก็บรวบรวมข้อมูลการสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มี 4 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย (1) การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) (2) การเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการจัดการศึกษา (3) การดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ (4) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2). รูปแบบการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) รูปแบบการจัดการศึกษาฯ 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาฯ การตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง  The purposes of this research were 1) to study the basic elements, purpose, and indicators of the model, and 2) to innovate and examine the model. This research was divided into two stages. The first stage was to study the basic elements, purpose, and indicators of the model for education management during the COVID-19 pandemic for Princess Chulabhorn Science High School Chonburi through document analysis, focus group discussions, and In-depth interviews. In the second phase, the model was innovated and examined using focus group discussions. Relevant documents, research analysis record forms, group discussion data forms, and in-depth interviews were used as the research instruments. Qualitative data were analyzed using content analysis. The research findings revealed that 1) education management during the COVID-19 pandemic consisted of 4 basic elements; there were (1) Prevention of the COVID-19 pandemic, (2) Preparation of the personnel, (3) Student assistance services, and (4) Hybrid learning. 2) The innovative model contained both the education model and the education model handbook. A focus group of experts assessed the investigating model as appropriate, feasible, and implementable.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563. สืบค้นจาก https://moe360.blog/2020/05/08/การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563.

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2564). Hybrid Learning การเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้. เข้าถึงได้จาก https://touchpoint.in.th/hybrid-learning.

เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ, และฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ และฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19. รายงานการศึกษา, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เฉลิมชัย เลี้ยงสกุล. (2563). การศึกษาในยุค COVID-19. สืบค้นจาก https://jwc.rtarf.mi.th/new/index.php/2021-03-08-09-16-26?download=92:covid-19.

เบญจวรรณ เรืองศรี, อาลิษา วิเศษกาญจน์, ศุภมาส นุ่นสกุล และวศิณีย์ รุ่งรังสี. (2564). การจัดการเรียนการสอนในยุค New Normal Covid-19 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ On Site. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(2), 29-45.

เปรมยุดา สุดจำ. (2564). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โควิด-19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 10-17.

พระครูสังฆรักษ์สิงห์ชัย ฐิตธมฺโม, พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ (ธานี สุขโชโต) และวรกฤต เถื่อนช้าง (2563). การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด 19. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2), 143-154.

Eisner, E. (1976). Education connoisseurship and criticism: Their form and functions in educational evaluation. Journal of Aesthetic Education, 10(3), 192–193.

Joyce, B. & Weil, M. (1996). Models of teaching (5th ed.). New York: Allyn & Bacon.

Keeves, J. P. (1988). Educational research, and methodology, and measurement. Oxford: Pergamon Press.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2020). China ECE policy response to COVID-19. Retrieved from https://planipolis.iiep.unesco.org/en/2020/china-ece-policy-response-covid-19-6865.

Wongyai, W., & Patphol, M. (2020). Learning design for the new normal. Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2023-01-18