ผลการจัดการเรียนรู้เเบบบูรณาการตามเเนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สาระการเรียนรู้ศิลปะ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

The Effects of Integrated Learning According to STEAM Education with Sufficiency Economy Philosophy in the Art Subject Area on Creative Thinking and Sufficient Character of Pratomsuksa 4 Students

Authors

  • อภินันท์ มะลิขาว
  • สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์
  • รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์

Keywords:

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, สะตีมศึกษา, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ความคิดสร้างสรรค์, คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง, Integrated Learning, STEAM Education, Sufficiency Economy Philosophy, Creativity, Sufficiency Characteristics

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิfสร้างสรรคดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 60 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนทั้งหมดจำนวน 23 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 งานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรม 2) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบประเมินคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for one sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM) ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.70 อยู่ในระดับดีเยี่ยม  The objectives of this research were to 1) Examine the creativity of Prathomsuksa 4 students who received integrated learning management based on the concept of STEAM education and the philosophy of sufficiency economy compared with the criterion of 60% and 2) Investigate the sufficiency characteristics of Prathomsuksa 4 students who received integrated learning management based on the STEAM education concept and the sufficiency economy philosophy. The participants were 23 students at a school in Chonburi province in the second semester of the academic year 2021. The participants were randomly selected by using cluster sampling. The research instruments consisted of 1) the integrated learning management plans based on STEAM with sufficiency economy philosophy for Prathomsuksa 4 students (Unit 4: Visual Arts in Culture), 2) the creativity assessment form, and 3) the self-sufficient character assessment form. The statistics used to analyze the data in this research were mean, standard deviation and t-test for one sample. The research findings were as follows 1)Creativity of prathomsuksa 4 students after receiving integrated learning management based on the concept of STEAM Education together with the sufficiency economy philosophy was higher than the criterion of 60% with the statistical significance at .05 level; 2) the sufficiency characteristics of Prathomsuksa 4 students after receiving the integrated learning management based on the concept of STEAM education with the sufficiency economy philosophy was 2.70 in average and at an excellent level.

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2562). สมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2562 “นวัตกรรมทางความคิดกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน”. สืบค้นจาก https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/file_download/1646103764674-74626516.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเเห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การอยู่อย่างพอเพียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเเห่งประเทศไทย.

จันทรา ด่านคงรักษ์. (2561). การพัฒนาการสอนทักษะการคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เเห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เเละ ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2553). ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียง...สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

ทิศนา เเขมมณี. (2559). ถอดรหัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสอนกระบวนการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เเห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริญญา ชนะวาที. (2551). การศึกษาการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน วิชาศิลปศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัสยา บัวผัน, สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ และอาพันธ์ชนิต เจนจิต. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ และเจตคติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2(48), 203-224.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [สสวท.]. (2558). กรอบออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษากับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท., 43(192), 14-17.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาเเห่งชาติ.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ประเทศไทย Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาเเห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เครือข่ายการเรียนรู้ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง : ภาคีความสำเร็จเเบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักวิชาการเเละมาตรฐานการศึกษา. (2552). เเนวทางการพัฒนา การวัดเเละประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเเห่งประเทศไทย จำกัด.

หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. (2564). คู่มือการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ขาดทุนคือกำไรวิสาหกิจเพื่อสังคม.

อัมพร เรืองศรี. (2554). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill.

Howkins, J. (2001). The creative economy: how people get money from ideas. London: Penguin Book.

OECD. (2019). PISA 2021 creative thinking framework third draft. Retrieved from https://www.oecd.org/pisa/publications/PISA-2021-Creative-Thinking-Framework.pdf

STEM EDUCATION THAILAND. (2014). รู้จักสะเต็ม. สืบค้นจากhttp://www.stemedthailand.org/?page_id=23

Torrance, E. P. (1962). Guiding creativity talent. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

UNESCO Creative Cities Network [UCCN]. (2017). UNESCO Creative Cities Network (UCCN) “Building a collective vision for the future” strategic framework. Retrieved from https://en.unesco.org/creative-cities/sites/default/files/Mission_Statement_STEAM_Education_an_overview_of_creating_a_model_of_integrative_ educationUNESCO_Creative_Cities_Network_1.pdf

Yakman, G. (2008). STEAM Education: A overview of creating a model of integrative education. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/327351326_

Downloads

Published

2023-01-18