มุมมองของผู้เชี่ยวชาญต่อโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชาของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรปรับปรุง 2566) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Perspective of Experts on Curriculum Structure and Courses of Doctor of Philosophy in Human Resources Development (Revised A.D. 2023), Faculty of Education, Burapha University

Authors

  • วทัญญู สุวรรณเศรษฐ
  • ปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา
  • เขมญา คินิมาน
  • จินดาภา ลีนิวา

Keywords:

มุมมองผู้เชี่ยวชาญ, โครงสร้างหลักสูตร, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, Perspective of Experts, Curriculum Structure, Doctor of Philosophy, Human Resources Development

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างแผนการเรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 2) เพื่อกำหนดกรอบรายวิชาเรียนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสมรรถนะของผู้เรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหลักสูตร จำนวน 8 คน ผลการศึกษาพบว่า ข้อ 1.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ควรมีโครงสร้างแผนการเรียนแบบ 1.1 คือ ให้เลือกเรียนวิชาปรับพื้น อย่างน้อย 2 รายวิชา และดุษฎีนิพนธ์ ส่วนแผนการเรียนแบบ 2.1 ให้เลือกลงเรียนวิชาในหมวดวิชาปรับพื้นฐานอย่างน้อย 2 รายวิชา วิชาบังคับ 3 รายวิชา วิชาเลือกอย่างน้อย 1 รายวิชา และดุษฎีนิพนธ์ ข้อ 2. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ควรกำหนดกรอบรายวิชาเรียนที่ครอบคลุมองค์ความรู้และสมรรถนะในหลายด้าน ประกอบด้วย 1) หมวดวิชาปรับพื้น ควรได้รับการปูพื้นฐานด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษในงานที่เกี่ยวข้องกับบริหารธุรกิจ งานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และงานวิชาการ และด้านการวิจัยในงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) หมวดวิชาบังคับ ได้แก่ การกำหนดนโยบายและแผนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การธุรกิจ การออกแบบนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรธุรกิจ และการวิจัยและการพัฒนาในงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) หมวดวิชาเลือก อย่างน้อย 1 รายวิชา และ 4) ดุษฎีนิพนธ์  The objectives of this research were to study 1) the structure of the study plan of the Doctor of Philosophy in Human Resources Development program (Revised Curriculum, B.E. 2566 (2023)), in the Faculty of Education, Burapha University; and 2) define the course framework for knowledge development and competency of the students in the Doctor of Philosophy in Human Resources Development program (Revised Curriculum, B.E. 2566 (2023)), in Faculty of Education, Burapha University. The researcher used a qualitative research method using in-depth interviews from qualified persons who are regarded as experts and stakeholders of the course, consisting of 8 participants. The study results for Type 1 of the Doctor of Philosophy in Human Resources Development program (Revised Curriculum, B.E. 2566  (2023)), in Faculty of Education, Burapha University, in terms of the overall structure of the study plan was that students should choose to study at least 2 foundation courses and complete a doctoral dissertation. As for the study plan, type 2, it was found that students should choose to study at least 2 subjects in the foundation courses, complete compulsory courses in 3 subjects, in at least 1 additional elective course, and a doctoral dissertation. For objective 2, it was found that the Doctor of Philosophy in Human Resources development program (Revised Curriculum, B.E. 2566 (2023)), in the Faculty of Education, Burapha University, a course framework that covers both knowledge development and skills, attitudes and values that foster higher competence in Human Resource Development should be established. Graduates should have acquired a foundation in English communication in business-related tasks, human resource development and academic work and conduct human resource development research. A second finding related to the course framework for type 2 was that students should be required to complete one compulsory course that included the formulation of policies and plans for human resource development in business organizations, innovative design, and the application of technology in human resource development and business organizations and research and development in human resource development; at least one elective course; and a doctoral dissertation.

References

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกองทุนผู้สูงอายุ. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล.

ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2019). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(2), พฤษภาคม-สิงหาคม 2562. เข้าถึงจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/213509

ปกิต มูลเพ็ญ และอติพร เกิดเรือง. (2564). ประสิทธิผลการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(2), 49-62.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 (2558, 13 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง. หน้า 12-14.

ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2564). แนวทางการสร้างนวัตกรรมในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 516-528.

ปัณฎารีย์ กิ่งวงศา, ธีรวัช บุณยโสภณ, สุภัททา ปิณฑะแพทย์, และชุลีวรรณ โชติวงษ์. (2564). รูปแบบศักยภาพผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ในการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(1), 227-251.

พงศกร ศรีรงค์ทอง. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์การแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. วารสารวจันทรเกษมสาร, 24(47), 1-16.

ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ และ ญาณี โชคสมงาม. (2564). “KM KNOWLEDGE MANAGEMENT”. กรุงเทพฯ: วช.

สถาบัน People Development Center. (2565). เทคนิคการสอนงานให้ได้ทั้งใจได้ทั้งงาน สำหรับผู้บริหารและหัวหน้างาน. เข้าถึงจาก https://bit.ly/3NAntEA

สุธาสินี โพธิจันทร์. (2558). “สถิติ” ศาสตร์พื้นฐานของ การบริหารคุณภาพ. เข้าถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565. เข้าถึงจาก https://www.ftpi.or.th/2015/2271

วัชรพล โพธิ์พูนศักดิ์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงขององค์กรรัฐวิสาหกิจ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 11(2), 57-69.

วัชรินทร์ อินทพรหม. (2562). การวิเคราะห์และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 10(2), 314 - 333.

เอกสิทธิ์ สนามทอง. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: แนวทางพัฒนาสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(1), 64-77.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ฉบับนำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ. เข้าถึงจาก https://www.nesdc.go.th/main.php?File name=plan13

สุจิตรา พงศ์พิศุทธิ์โสภา, โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี, และโรจลักษณ์ จักรไพวงศ์. (2561). การวิเคราะห์ด้านทรัพยากรมนุษย์: วิวัฒนาการ การปรับตัวขององค์กร บทเรียน และแนวโน้มในอนาคต. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 10(1), 126-162.

Central Intelligent Agency. (2019). East & Southeast Asia: Korea, Thailand: The World Factbook. Retrieved from https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html

Downloads

Published

2023-04-12